วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สังคม เศรษฐกิจ การเมือง หลังยึดอำนาจ 19 กันยา 2549

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5981707/P5981707.html
1 ปี ผ่านมา ได้-เสียอะไร

สนธิขอครม.อีก2พันล. ให้กอ.รมน.
ผลงานเผด็จการ เพียง 1 ปี

1. เสีย อำนาจ อธิปไตย (รธน40 ของ ประชาชน)
2. ได้ คตส. สนช. กกต. ปปช. ตุลาการ-รฐน ฯลฯ
3. เปิดโฉมหน้า พรรคการเมือง เผด็จการ
4. สื่อ และนักวิชาการ ไม่มีจรรยาบรรณ
5. เศรษฐกิจ เสียหาย
6. เครื่องบินขับไล่
7. รถถังล้อยาง
8. ฟังรองนายก ... แล้วรู้สึกเสียเวลา
9. ยกเลิกหวยบนดิน
10. เด็ก ๆ ที่ได้ทุน โดนลอยแพ
11. กฎอัยการศึก ครึ่งประเทศ
12. ยาบ้า เต็มเมือง
13. สูญเสีย สถาบัน ทรท. ซึ่งมาจากเสียงส่วนใหญ่

ขอเชิญ เพื่อนสมาชิก ... ช่วยคิดหน่อยครับ

จากคุณ : Man-A - [ 3 พ.ย. 50 02:18:57 A:58.64.105.96 X: ]


ความคิดเห็นที่ 1

มีแต่เสียลูกเดียว ..
ถดถอยลงทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสังคม/เศรษฐกิจ/การเมือง

จากคุณ : sound of water - [ 3 พ.ย. 50 03:45:48 A:203.146.63.185 X: ]



http://www.innnews.co.th/Politic.php?nid=69466

ทูตสวีเดนถก'สนธิ'ยันขายกริฟเฟ่นเจรจาแบบGtoGส่งมอบปี54

โดยทีมข่าว INN News 26 ตุลาคม 2550 16:18:15 น.

เอกอัครราชฑูต สวีเดน ยืนยัน การซื้อขายเครื่องบินขับไล่ ไทย เป็นการเจรจาแบบรัฐต่อรัฐ ไม่ผ่านบริษัทเอกชน โดยจะส่งมอบได้อย่างช้า ในปี 2554



นายเลนนาร์ท ลินเนอร์ เอกอัครราชทูต สวีเดน ประจำประเทศไทย แถลงยืนยันความโปร่งใสในการซื้อ-ขาย เครื่องบิน ขับไล่เอนกประสงค์ กริฟเฟน ระหว่างไทยและสวีเดน โดยในวันนี้ ตนได้เข้าพบกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เพื่อแนะนำตัวในฐานะทูตใหม่ และหารือในการซื้อ-ขายดังกล่าว ซึ่งทางรัฐบาลสวีเดนได้ให้การสนับสนุน โดยเป็นการขายระหว่างรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย ไม่มีบริษัทเอกชนภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง พร้อมยืนยันเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์กรีฟเฟน มีความเหมาะสมกับภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลสวีเดนรู้สึกภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลไทย ในการจัดซื้อ

อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2553 จึงจะมีการส่งมอบเครื่องบินเป็นครั้งแรก หรืออย่างช้าที่สุดในปี 2554 โดยขึ้นอยู่กับการเจรจา และในระหว่างนี้จะมีการส่งนักบินจากประเทศไทยไปฝึกยังสวีเดน และมีการทดสอบการบินเพื่อเตรียมความพร้อม


http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=143940&NewsType=1&Template=1

วันที่ 23 ตุลาคม 2550 เวลา 13:11 น.

“บุญรอด”รอเคลียร์ สตง. ก่อนเซ็นอนุมัติซื้อรถหุ้มเกราะยูเครน



พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ได้ตรวจสอบถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางจากประเทศยูเครนของกองทัพบกว่า ทางสตง.ได้มีหนังสือมาที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพบก ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงรอการรายงานขึ้นมาตามลำดับชั้น ทั้งนี้ตนยืนยันว่าต้องให้เคลียร์ คือต้องทำให้สตง.ไม่ติดใจ และเมื่อสตง.ไม่ติดใจ ตนก็จะลงนามให้มีการจัดซื้อจัดจ้าง

เมื่อถามว่า สรุปว่ารมว.กลาโหมจะลงนามให้มีการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ รมว.กลาโหม กล่าวว่า ต้องดูทาง สตง.ว่าไม่ติดใจ เพราะสตง.เป็นคนตั้งปัญหานี้ขึ้นมาว่ามี 7 จุดที่ยังไม่โปร่งใส ดังนั้นทางกองทัพบกต้องตอบคำถามนี้ให้เคลียร์ เมื่อถามว่า ทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)จะมีการอภิปรายในเรื่องนี้ มั่นใจหรือไม่ว่าจะชี้แจงได้ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ชี้แจงได้เพราะตนเป็นคนไปตอบคำถามในประชุมสนช.มาแล้ว

เมื่อถามถึงกรณีที่บริษัท ล็อก ฮีต มาร์ติน ของสหรัฐอเมริการ้องเรียนการจัดซื้อเรื่องบินกริพเพนมายังกระทรวงต่างประเทศ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ในเรื่องของกองทัพอากาศยังเป็นเรื่องที่สบายใจอยู่ เพราะเขารัดกุม


http://www.freewebs.com/thai-anti-terrorism/specialreportii.htm



สวีเด็นคิดหนักขายเครื่องบินรบให้ไทย

หนังสือพิมพ์ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน หนังสือพิมพ์ในเครือนิวยอร์กไทม์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งตีพิมพ์หลายประเทศในยุโรป รายงานเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมนี้ระบุว่า กรณีที่ทางการสวีเดนเตรียมขายเครื่องบินรบอเนกประสงค์ กริฟเฟน ให้กับกองทัพอากาศไทยกำลังกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในสวีเดน เพราะมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านหลังจากที่มีการประกาศความตกลงที่จะซื้อขายดังกล่าวกันในสวีเดนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เสียงคัดค้านเป็นเพราะเห็นว่ารัฐบาลไทยในเวลานี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

ทั้งนี้ นายโอลา แมตต์สัน เลขาธิการสมาคมสันติและการรอมชอมแห่งสวีเดน (เอสพีเอเอส) ระบุว่า รัฐบาลสวีเดนไม่ควรขายอาวุธให้กับประเทศไทยที่เป็นประเทศเผด็จการทหาร ในขณะที่นายแจน โอเอล แอนเดอร์สสัน ผู้อำนวยการโครงการสถาบันกิจการระหว่างประเทศ ที่เป็นสถาบันทางวิชาการอิสระของสวีเดน ชี้ว่าการที่สวีเดน ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง ยึดถือแนวทางเป็นกลางมายาวนาน กลับมาผลักดันกิจการขายอาวุธระหว่างประเทศ นอกจากจะทำให้การดำรงความเป็นกลางยุ่งยากขึ้นแล้วยังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศที่ส่งเสริมเสรีภาพ สันติภาพไม่ได้รับการเชื่อถืออีกต่อไป

ผู้สื่อข่าวระบุด้วยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า กริฟเฟน หรือกริฟฟิน เป็นเครื่องบินรบแบบอเนกประสงค์ สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลายภารกิจ ทั้งประจัญบาน, โจมตี (ด้วยจรวดจากอากาศสู่อากาศ) และ เครื่องบินตรวจการณ์ ขณะนี้มีประจำการอยู่ในกองทัพอากาศของ 4 ประเทศ ประกอบด้วย สวีเดน, แอฟริกาใต้, ฮังการี และสาธารณรัฐเชค โดยจนถึงเดือนกันยายนปี 2549 ที่ผ่านมามีการสร้างเสร็จและส่งมอบแล้วรวม 184 ลำ ยังมีคำสั่งซื้อคงค้างอยู่อีก 232

ทั้งนี้ วิกิพีเดียระบุว่าราคาขายต่อลำไว้ว่าอยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ในปี 2541 และ 45-50 ล้านดอลลาร์ในปี 2549 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้น มูลค่าของเครื่องบินดังกล่าวที่ทางการไทยจัดซื้อรวม 12 ลำ จะเท่ากับเพียง 600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 20,400 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์) ไม่สูงถึง 34,500 ล้านบาทอย่างที่มีการแถลงกันก่อนหน้านี้แต่อย่างใด



อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เครื่องบินกริฟเฟนมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 รุ่น คือ เจเอเอส 39เอ, เจเอเอส 39บี, เจเอเอส39ซี, เจเอเอส 39ดี และเจเอเอส 39อี/เอฟ และวิกิพีเดียไม่ได้ระบุแต่อย่างใดว่าราคาต่อหน่วยดังกล่าวเป็นราคาของรุ่นใด ในขณะที่ทางกองทัพอากาศไทยระบุว่าจะจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนรุ่น เจเอเอส 39ซี/ดี (เครื่องบินรบในสมรรถนะเดียวกับเครื่องบินรบของนาโต ที่มีที่นั่งเดี่ยวและ 2 ที่นั่ง)


สื่อนอกชำแหละ1ปีรัฐประหาร



Source: Statistics taken from Michael Nelson, “Thailand,” in Dieter Nohlen et. al, eds., Elections in Asia and the Pacific: A Data Handbook, vol. 2 (Oxford: Oxford University Press, 2001), pp. 304-9, based on official sources.

เอเอฟพี เสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทยในโอกาสครบ1ปีรัฐประหาร ชี้คมช.พาประเทศไกลออกไปจากประชาธิปไตยเกินเอื้อม
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานอ้างบทวิเคราะห์ของนาย ไมเคิล เนลสัน นักวิเคราะห์การเมืองไทย ซึ่งระบุว่า ขณะที่ ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หลัง 1 ปีแห่งการรัฐประหาร แต่คำสัญญาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ในการฟื้นฟูเสถียรภาพ ความสามัคคี และประชาธิปไตย ยังคงไกลเกินเอื้อม

นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า คณะรัฐประหารล้มเหลวในการสร้างความเชื่อมั่นกับเหล่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามเป้าหมายที่ทหารตั้งไว้ ทั้งยังนำประเทศหวนคืนสู่บรรยากาศการปกครองแบบประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำของทหารอย่างในอดีตที่ผ่านมา พร้อมชี้ว่า การลงประชามติที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการแบ่งขั้วทางการเมือง ที่คณะรัฐประหารพยายามอย่างหนักที่จะถอนรกรากถอนโคน ทั้งยังตั้งข้อสงสัยว่าความเอกภาพชนิดไหนกันแน่ที่คมช. กำลังตามไล่ล่าอยู่

"ความเป็นเอกภาพในบริบทของคมช. อาจจะมีความหมายเพียงแค่ การวางกรอบความสามัคคีที่นำเอาแบบฉบับทางการเมืองพร้อมแนวความคิดอื่น ๆ ของตัวเอง มาวางครอบเหนือคนไทยทั้งประเทศ" เนลสันกล่าว และชาวอีสานจำนวนมากโดนริบสิทธิในการลงคะแนนเสียงให้พรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามา การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น เป็นรูปแบบการลงคะแนนเสียงที่คณะรัฐประหารกำหนดตัวเลือกไว้ล่วงหน้าแล้ว

นักวิเคราะห์หลายคนฟันธงว่า ภายหลังการชี้ชะตาทางการเมืองอันใกล้นี้ ประเทศไทยจะได้รัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ โดยก่อตัวขึ้นจากบรรดาผู้ที่แยกตัวมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตร



ด้านไมเคิล มนเตซาโน ศาสตราจารย์สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ชี้ว่า ไม่ว่ารัฐบาลไหนที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งก็ตาม จะต้องตกอยู่ภายใต้การจับตามองอย่างแน่นอน และกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าขบคิดด้วยว่า หากพรรคไทยรักไทยทำการบ้านมาเป็นอย่างดี และใช้วิธีรณรงค์หาเสียงอย่างชาญฉลาด จนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งแล้ว จุดสำคัญก็จะอยู่ที่ว่า ผู้กุมอำนาจอยู่ในปัจจุบัน จะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น.

ตามสูตร “น้ำลึกไหลเชี่ยว น้ำเชี่ยวไหลลึก”

ตามสูตร “น้ำลึกไหลเชี่ยว น้ำเชี่ยวไหลลึก”

เอา นักต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย เพื่อคนจน และเพื่อ ความเสมอภาค นิติรัฐ และเสรีภาพ ของไทย ปรับตัวยังไงกันดี วงในเขาบอกว่าอย่าพึ่งถอนหายใจ ดีใจที่พี่สพรั่งเขาเด้งไปไกล แล้วมองไปว่านี่คือการ “ส่งซิกพักรบ” สมานฉันท์ หรืออะไร มาให้จาก ป๋า มันอาจจะเป็นไปได้ แต่ฝ่ายวิเคราะห์ เขาบอกว่า ซิก มันยังไม่แรงพอ ยิ่งอัยการเตรียมส่งคนไปอังกฤษ มันก้เหมือน คมช ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล ไปถล่มฐานที่มั่น ของนักประชาธิปไตยไทย ที่ลอนดอนเลย แต่ถึงกระนั้น พวกรักความสงบ ก็ยังไม่ถึงกับต้องปลง ว่าเอาอีกแล้ว ตีกันอีกแล้ว แต่จริงๆแล้ว มันอาจจะเป็น การทำกิจกรรมสำหรับการเลือกตั้ง มากกว่าการโจมตีจริงๆ

แต่ที่ฝ่ายวิเคราะห๋ เขากังวลกัน ก็เพราะสิ่งที่เขากลัว “ว่ามันจะเกิดขึ้น” อาจจะ “กำลังเกิดขึ้นแล้ว” แล้วสิ่งนั้นก็คือ ทฤษฏีที่จะกล่าวถึง ต่อจากตรงนี้

ในทฤษฏี ของนักวิเคราะห์ ที่ยอมรับเลยว่าได้ยินและเห็นคนอื่นพูดและเขียนถึงมาบ้างแล้ว ฉะนั้นตรงนี้ไม่มีอะไรใหม่ นอกจากเอามารวบรวมให้อ่านกันเข้าใจง่ายๆ เพราะผมมันนักเขียนอาชีพ ถนัดเรื่องสื่ออะไรสลับสับสนออกมาให้อ่านง่ายๆ

ทฤษฏี ของนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบางคน ว่ากันไว้ว่า ฝ่ายความมั่นคง ของ อำนาจนิยม แห่งชนชั้นสูงของเมืองไทย เขาเริ่มขยับ “ลงลึกกันแล้ว” ขุนพล คุมกำลัง อันใหญ่สุดของเขา อนุพง เป็น “เซียนราชการลับ” มาในรูปแบบของ ปูตินและบุช ผู้พ่อ สองผู้นำโลกที่คุมราชการลับ ของรัซเซียและเมกา ก่อนมาเป็นผู้นำโลก อนุพงนั้นว่ากันว่า “น้ำเชี่ยวไหลลึก อย่างไรอย่างนั้น ไม่มีผิดเพี้ยน” คือพร้อมสูบเอาคนไม่ระวังตัว หรือว่ายน้ำไม่แข็ง ให้หายวับไปกับสายตา แต่มองดูผิวเผินนั้น ดูไม่น่าอันตรายอะไรเลย กลับน่าพาลูกหลานลงไปแหวกว่ายเล่น

เส้นสาย ชนชั้นสูงนั้น ชักจะกว้างและเป็นแห กระจายครอบคลุมพื้นที่ มากขึ้นทุกทีนะพี่ๆน้องๆ ทั้งกฎหมายบางฉบับ ทั้งการสลายขั้ว อำนาจอื่นๆที่ขวางเช่นตำรวจ ทั้งวางตัวข้าราชการปกครอง ทั้งผู้พิพากษา ทั้งนักการเมือง ทั้งทหารที่ยึดมั่นเข้าไปอีก ทั้งองค์กรอิสระ แบบ กกต และ อรหันต์ และ สว ที่จะเลือกกันอีก แล้วอย่าลืมพวกนักสร้างกระแสแบบนักวิชาการ อาจารย์ตามหมาวิทยาลัย และยังมีสื่อในมืออีกกองใหญ่

ที่ทั้งหมด รวมกลุ่ม มากันเป็นส่วนหนึ่ง ของเครือข่ายใหญ่ เรียกว่า เครือนี้ “ไม่ใช่พรรคการเมืองตรงๆ” แต่ก็เหมือน “พรรคการเมืองใหญ่” ไม่มีสส ตรงๆ แต่มีอำนาจ มากมายที่จะ ใช้ “จัดการ” ประเทศ ทั้งที่ไม่ได้มาจากประชาชน หรือทำเพื่อประชาชนส่วนรวม เป็นน้ำเชี่ยว ที่ไหลลึก เหมือนที่สหรัฐเขาชี้ให้เห็น ว่าผู้ก่อการร้าย ในเครือของ Al Qaida สมัยนี้ ไม่มีหนวดไม่มีเครา มองไม่ออกว่าเป็นชาวอาหรับ แต่ได้กลายพันธ์ มาเป็นใครก็ได้ เช่นเพื่อนบ้าน ธรรมดาที่เห็นทุกวัน หรือคนที่เจอใน โบสถ์

เรียกว่าพวกนี้คือ Super-Conservative Lobbyist Networking Party of Thailand (Sup-Con สั้นๆ) ก็ว่าได้

พวกนี้ มองแล้วไม่เป็นพิษไม่เป็นภัย แต่คนพวกนี้ เขาเชื่อมกันที่อุดมการณ์ ถ้าของ Al Qaida คือทำลายตะวันตก ส่วนพรรค Sup-Con นี้ ของไทย คือของอำนาจนิยม ที่มีจุดมุ่งหมายคือ “ปกป้องและค้ำจุน” ชนชั้นสูงชน ผู้ดี ผู้มีอันจะกิน ผู้นำ และผู้ที่เข้าร่วมสาบาน การเข้าก็ง่ายๆ ออกโจมตีทักษิณ หรือไม่ก็ออกมาสนับสนุน ปกป้องค้ำจุน พวกเขา ชนชั้นสูง จะตรงๆหรือแอบๆ ก็ได้ สร้างตัวขึ้นมาตรงแถวนี้ แล้วประตูสู่ พรรคการเมืองนี้ก็จะเปิดกว้าง

มันเริ่มจะเห็นเป็นภาพลางๆได้แล้วนะ ว่าสายน้ำเชี่ยว นี้ มันมีสายตรง วิ่งเข้าหา และ ออกจาก ผู้หลักผู้ใหญ่ของแผ่นดิน ไม่กี่คนเอง แล้วอย่างที่ข่าวกรองต่างชาติรายงานไว้แล้ว ภายใต้ รธน ใหม่ ทุกคนทุกฝ่าย มันจะลงลึกกันหมด คือลงไปเล่นใต้ดินกันหมด ข้างบนมันจะได้ไม่กระเพื่อม เพราะข้างบนกฎมันห้ามไว้ และจับตามองอยู่ แต่ใต้ดินนี้สิ มันพะยะคะ ใครนอมินีใครไม่มีใครรู้จริง ใครทำอะไรจริงๆไม่มีใครรู้จริง มันเหมือนระบบ “เซล” ของ พวกผู้ก่อการร้าย ยอดปิรามิดจริงๆเท่านั้นที่เห็นหมด

จะมีสิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา แต่จะไม่รู้เลยว่ามาจากไหน ไปยังไง และเพื่ออะไร จะมีก็แค่คำอธิบายตื้นๆง่ายๆ อย่างไม่แยแสอะไรเลย เช่นต่ออายุ 10 ปีให้ผู้พิพากษา ที่ให้มา ก็คือเพราะคนไม่พอ หรือ รธน หมกเม็ด ให้ถือหุ้นได้เกิน ตอนนี้ ที่แบบที่ตอนนี้ให้ทำได้ ทั้งที่กำลังเอาผิดทักษิณ เรื่องเดียว กันอยู่ ที่ไม่ให้คำตอบอะไรเลยอย่างไม่แยแส แต่ลึกๆคือ ต่ออายุให้สิบปี บวกกับคนที่กำลังจะไปจับจอง และจับจองกันไปบ้างแล้ว จริงๆแล้ว มันคือการซื้อตัว วางเส้นสาย เราดีๆนี่เอง

แล้วพอ ทุกคน ลงใต้ดิน ไปเล่นน้ำลึกกัน มันจะเจอใคร นอกจาก สายธารใหญ่ “เชี่ยวกราก” ที่รออยู่ มันวิ่งออกจาก Council of the Elders, Powerful and Rich ไม่กี่คน เช่น ป๋า และพลพรรค คนใกล้ชิด และเส้นสายพวกนี้ จากนี่ มันมีสายหนึ่ง โยงไปถึง ผู้พิพากษา ที่วางตัวไว้แล้ว ที่คุม สว และ อรหันต์ ตามองค์กรอิสระ อีกที ที่อยู่ในการจัดการและสังกัด ของ ผู้พิพากษา

อีกสาย มันวิ่งเข้าหาพรรคการเมือง แทบทุกพรรค ลึกๆและทางอ้อม แบบ ต่อรองการใช้อำนาจ กอรมน ศาล องค์กรอิสระ สว และ สื่อ ในมือ Sup-Con ให้พรรคการเมือง พอใช้เล่นละครตบตาเสียงสนับสนุนไปได้ และอีกสาย มันก็วิ่งกันตรงๆเลย ในนาม คมช ลงเล่นการเมือง ตรงๆ และ อีกสาย มันก็ภายในพรรคการเมืองต่างๆเอง ที่รีบร้อนหาคนมาเข้ากัน โดยไม่ดูให้ดี ว่า สส ตัวเองนะ เป็น นอมินี ให้ Sup-Con หรือเปล่า อยากรู้ว่า ภัยของประชาธิปไตย ความเสมอภาค และผลประโยชน์ของรากหญ้า มาแบบไหนสมัยนี้ ไม่ต้องดูไกล ดูแบบ สุรเกียตริย์ นะ ไม่ใช่ Sup-Con ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วตอนนี้ไปฝังลึกเป็นแกนกลางของอะไร แล้ว แล้วอีกสารพัดคน แบบ สมคิด อีก คือมองให้ดีๆ ผู้ดีเก่า ชนชั้นสูง อภิสิทธิชน กึ่งราชนิกุล นั่งกันสลอนในแทบจะหมดทุกพรรค



คนพวกนี้เขาเหมือนๆกัน ป๋าพูดด้วย หรือคนที่เขาเคารพ พูดด้วย นิดเดียว ลืมหมดรากหญ้า ประชาธิปไตย ความเสมอภาค เสรีภาพ หรืออะไร คนพวกนี้เขาเหมือน “ปลาแซลม่อน” คือจะวิ่งขึ้นแม่น้ำให้สูงที่สุด เพื่อไปออกลูก ออกหลาน แล้วตอนนี้แม่น้ำใหญ่ สายธราใหญ่ มันก็คือ “น้ำเชี่ยวไหลลึก” ของ Sup-Con แน่นอนว่า พปช ก็ได้ตัว Sub-Con มากับเขาเหมือนกัน แต่บังเอิญ สมัครเขาไม่ใช่เส้น ป๋า แต่ไปอีกทางเลย คือเส้นทักษิณ มันก็ย้ำให้เห็นอีกที ถึงการมองการไกลของ

ทักษิณ ว่าถ้าจะต่อกรกับ ผู้ดีหละก็ หาผู้ดีเก่งๆมาเล่นดีกว่า

แบบงานนี้ ถึงน้า “ใจ” จะเกลียดทักษิณเข้าไส้ ผมว่า พปช และ นปช น่าจะหา “ผู้ดี” ที่ตกขอบ ป๋า มาเป็นกำลังนะ แล้วเรื่องลงใต้ดิน ก็น่าจะเอาจริงบ้างนะ ถึงแม้ว่าบนดิน ยิ่งแถวสนามหลวง จะเล่นเก่งขนาดไหนก็ตาม

แถลงการณ์ทหารประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ ที่ 22 เมษายน 2550

แถลงการณ์ทหารประชาธิปไตย

Posted by metal , ผู้อ่าน : 89 , 22:36:49 น.

(สัมมนา ระดมความเห็นทหาร ประชาธิปไตย)

ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งในการร่างรัฐธรรม นูญฉบับใหม่ มีแถลงการณ์ทหารประชาธิปไตยฉบับที่ 2 เรื่องการร่าง รัฐธรรมนูญออกมา แถลงการณ์ซึ่งลงนามโดย พล.ท.ประสิทธิ์ นวาวัตน์ มีความว่า การร่างรัฐธรรมนูญของประเทศเรา ซึ่งร่างแล้วร่างอีกมาเป็นเวลาค่อนศตวรรษ ยาวนานกว่าการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศใดในโลกก็ยังร่างกันไม่เสร็จนั้น บัดนี้ได้ขยายตัวเป็นความขัดแย้งที่มีสถาบันหลักของชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความต้องการของแต่ละฝ่ายที่จะเอาความต้องการของฝ่ายตนซึ่งคิดว่าเป็นประชาธิปไตยไปใส่ไว้ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลก็จะซ้ำซากอย่างที่เป็นมาแล้วหลายสิบปีคือ ไม่เป็นประชาธิปไตย และต้องฉีกทิ้งกันอีก

ความขัดแย้งในการร่างรัฐธรรมนูญนี้จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน มีแต่จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงของคนในชาติในที่สุด อย่างไรก็ตามในสภาพที่บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ปฏิวัติ การร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งของคนในชาติ ย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงต่อความมั่นคงของชาติ จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร็ว ทั้งนี้ต้องตระหนักว่าปัญหาสำคัญอันดับแรกของชาติในปัจจุบันคือ ปัญหาประชาธิปไตย ไม่ใช่ปัญหารัฐธรรมนูญ เพราะปัญหารัฐธรรมนูญขึ้นอยู่กับปัญหาประชาธิปไตย ฉะนั้นการมุ่งมั่นแต่จะแก้ปัญหารัฐธรรมนูญ แทนที่จะแก้ปัญหาประชาธิปไตย จึงเป็นการแก้ปัญหาผิดจุดและแก้ไม่ตก

เหตุที่แก้ปัญหาผิดจุด ก็เพราะเอาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างระบอบกับรัฐธรรมนูญมากลับหัวกลับหางกัน กล่าวคือ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายหลักของระบอบ จึงย่อมสะท้อนระบอบและคุ้มครองระบอบ แต่เรากลับไปเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสร้างระบอบ เหตุนี้เราจึงเอารัฐธรรมนูญไปสร้างประชาธิปไตย โดยพยายามร่างรัฐ ธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อระบอบจะได้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ความจริงนั้นถ้าเราต้องการระบอบประชาธิปไตย เราต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา แล้วรัฐธรรมนูญจึงจะเป็นประชาธิปไตยตามระบอบนั้นได้ และทำหน้าที่คุ้มครองระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงได้

จึงเห็นได้ว่า การที่จะร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การแก้ไขเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่การแก้ไขมรรควิธีของการร่างรัฐธรรมนูญคือ ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ ถูกต้องของความสัมพันธ์ระหว่างระบอบกับรัฐธรรมนูญ โดยร่างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาก่อนแล้วให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะได้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตามที่ต้องการ.


แถลงการณ์ทหารประชาธิปไตย (2)

การให้ระบอบเผด็จการเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ นั้น ย่อมจะได้รัฐธรรมนูญเผด็จการเสมอไป ไม่ว่าจะพยายามประดิษฐ์เนื้อหาของรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยสักเพียงใดก็ตาม เพราะลักษณะของระบอบเป็นเครื่องกำหนดลักษณะของรัฐธรรมนูญ มิใช่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องกำหนดลักษณะของรัฐธรรมนูญ การสร้างประชาธิปไตยนั้น ทหารกับประชาชนจะต้องร่วมมือกันสร้าง จึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าในประเทศไทยหรือในนานาประเทศก็เหมือนกันทั้งสิ้น

แถลงการณ์ทหารประชาธิปไตยกล่าวอีกว่า ในประเทศไทยทหารเคยเป็นหลักในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2475 แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทหารบางส่วนก็ได้ทำลายเกียรติคุณของตนเอง โดยนำการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการ ในรูปเผด็จการทหารบ้าง เผด็จการรัฐสภาบ้าง ต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ประเทศไทยจึงแก้ปัญหาประชาธิปไตยไม่ตก เป็นเหตุให้แก้ ปัญหารัฐธรรมนูญไม่ตกตลอดมา ทหารมีหน้าที่โดยตรงในการรักษา ความมั่นคงของชาติ แต่ภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน การรักษาความ มั่นคงของชาติให้สำเร็จตามหน้าที่ ขึ้นอยู่กับการที่จะต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จและสถาพร



กองทัพแห่งชาติได้ทำการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 เพราะการปกครองเป็นระบอบเผด็จการภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษัณ ชินวัตร ประธาน คปค. (ไม่ใช่ทักษิณแน่ แต่เป็นพลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน) ซึ่งกลายมาเป็นประธานคมช. เคยประกาศว่าสาเหตุ 4 ข้อในการยึดอำนาจนั้นไม่ใช่สาเหตุหลัก สาเหตุหลักคือต้องการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชาติที่ยังแก้ไม่ตก แต่เพราะเหตุที่ไม่แก้ปัญหาพื้นฐาน โดยเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้สถานการณ์ของประเทศทรุดโทรมลงเป็นลำดับในเวลาเพียง 6 เดือน ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การก่อการร้ายที่รุนแรงขึ้น ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จนทำให้ประชาชนหมดหวังต่อผู้ปกครอง จนถึงกับมีการ พูดกันทั่วไปว่า จะเป็นระบอบอะไรก็ได้ ถ้าทำให้ชีวิตมีความปลอดภัย และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สถานการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ จำเป็นที่ คมช. จะต้องรีบแก้ปัญหาโดยเร็วโดย ดำเนินการดังนี้ ข้อแรก เรียกร้องความสามัคคีแห่งชาติ ด้วยการเปลี่ยน ระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย ข้อสอง ให้รัฐบาลนำนโยบาย 66/2523 ซึ่งเป็นนโยบายแห่งชาติ มาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นนโยบายการสร้างประชาธิปไตย ข้อสาม ขอ พระราชทานพระราชกฤษฎีการักษาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหา ของชาติในภาวะไม่ปกติ ด้วยมาตรการทางการบริหาร

ทหารประชาธิปไตยมีความปรารถนาอย่างแรง กล้า ที่จะได้เห็น คมช. และรัฐบาลร่วมมือกันแก้ปัญหาประชาธิปไตย ให้ลุล่วงโดยเร็ว เพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความสถาพรของพระศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อความไพบูลย์ของสังคม และเพื่อความสันติสุขของประชาชน



ประมาณเวลา 19.00 ผู้ปราศรัยท่านหนึ่งได้เปิดเผยว่า ทางแกนนำผู้ชุมนุมได้ประกาศว่า ได้รับแจ้งจากทหารประชาธิปไตยที่เข้ามาเป็นแนวร่วม ว่ามีกองกำลังทหารนอกเครื่องแบบ ที่ได้รับคำสั่งให้มานั่งในกลุ่มผู้ชุมนุม ทางแนวร่วมได้กำชับว่าพวกเขาเหล่าเป็น ลูกหลาน ของพี่น้องประชาชนเช่นเรา เพราะหน้าที่พวกเขาเหล่านั้นถึงต้องมา และทหารเหล่านี้ได้กระจัดกระจายนั่งปะปนกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยให้ผู้ชุมนุมต้อนรับเขาเหล่านั้นเป็นอย่างดี และช่วยกันสอดส่องพฤติกรรม ที่อาจเป็นต้นเหตุความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น


รถบันทุกทหารสมัยใหม่ เหมาะกว่ารถหุ้มเกราะในภาคใต้

ภารกิจทหารไทย “ในสามจังหวัดใต้”



แน่นอนว่าปัญหาหลักคือ “ขนทหารและตำรวจ” จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง “ให้ปลอดภัย” เป็นปัญหาหลักของการปราบปรามโจรก่อการร้าย และการรักษาป้องกัน “เหตุร้าย” ทหารไทย มุ่งไปที่การหารถเกราะ ล้อยาง เพราะ “เร็วดี” และ “มีเกราะ” แต่ในการซื้อก็ได้ของแถมมา คืออาวุธร้ายแรงติดมาด้วย อาวุธนี้ รับรอง ไม่มีความจำเป็นในภาคใต้ แต่มีมาด้วยก็ดี กลายเป็นการ “ถ่วงอำนาจมาเลเซีย” ในภาคใต้ไปเลย มาเลจะโต้ตอบอย่างไร ก็ต้องคอยดูกัน แต่การที่มีรถเกราะอานุภาพสูง เกือบร้อยคันในสามจังหวัดใต้ ความสมดุลทางทหารเปลี่ยนทันที

ถ้าจะให้วิเคราะห์ระหว่างรถยายเกราะจาก ประเทศ ยูเครน และ ยานเกราะจากประเทศอื่น ประเด็นที่สื่อเสนอกันมาก คือมีการโกงกิน ปัญหานี้วิเคราะห์ไม่ได้ เพราะเป็นเพียงข้อสงสัย แต่ก็วิเคราะห์ได้ ว่าระหว่างของ ยูเครน กับ ประเทศอื่น ที่เสนอ ควรจะซื้ออะไร นักข่าวส่วนมาก บอกว่าของ ยูเครน ไม่ดีเท่าประเทศอื่น

แต่ปัญหาจริงๆคือ ภารกิจคืออะไร จำเป็นต้องมีของที่ดีที่สุดหรือไม่ เพราะดีที่สุดก็คือแพงขึ้น หรือว่าของที่ไม่ดีที่สุดแต่ซื้อได้มากขึ้น สำคัญกว่า ถ้ามองในมุมนี้ ถ้าไม่คิดถึง การโกงและผิดระเบียบต่างๆ ของยูเครนก็น่าสนใจทีเดียว

แต่ก็มีคำถามต่อมา ว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะใช้ยานเกราะ ขนทหารโดยปรอดภัย หรือว่ามีวธีอื่นหรือไม่ที่ปรอดภัยพอๆกัน และ ราคายิ่งถูกลงไปอีก

คำตอบ “ก็คือมี” ในรถบันทุกทหารยุคใหม่ ที่กองทัพสหรัฐเอาไปใช้แล้วในอิรัก โดยได้ผลมาก เพราะปรอดภัย ทั้งที่ก็ทราบกันดี ว่าการโจมตีทหารแบบ กองโจร ต่อทหารสหรัฐ ในระหว่างไปจากจุดไปจุด นั้น “รุนแรง” กว่าภาคใต้มาก


รถบันทุกยุคใหม่ แทนที่รถหุ้มเกราะ ใน “อิรัก”

(heavily armored Buffalo and Cougar Vehicles)

That's how U.S. defense contractor Force Protection describes its heavily armored

(Buffalo trucks)

Buffalo and Cougar trucks, which are being rushed into service in Iraq and Afghanistan. More than 120 of the vehicles will be shipped overseas by February, and about 100 are already in service.

(Cougar trucks)

สามารถทนการโจมตีในอิรัก



Unlike the U.S. military's soft-skinned Humvees, Force Protection claims that its Buffalo (.pdf) and Cougar (.pdf) vehicles can withstand attacks from Iraq's infamous improvised explosive devices, or IEDs, as well as roadside bombs, gunfire and land mines. The cabins and hulls of both vehicles are layered with steel, ceramics and lightweight composites and can repel small-arms fire and shoulder-fired missiles.

(improvised explosive devices, or IEDs)

Narrow, V-shaped hulls help direct blasts out and away from the vehicles. The Buffalo and Cougar are nimble for their size, and can reach speeds of up to 70 miles per hour. They are much taller than Humvees and sit high off the ground.


สถิติคือ พาทหารรอดอันตรายเต็มร้อย

The company claims the Buffalo and Cougar's IED-survivability rate is perfect. The vehicles may sustain heavy damage, but no roadside bomb attack against a Buffalo or Cougar has taken the life of a coalition solider, the company said.



John Pike, director of GlobalSecurity.org, which focuses on worldwide military news, said the Buffalo and Cougar won't single-handedly defeat the Iraqi insurgency.

"You have to keep in mind there are 10,000 vehicles in Iraq that are subject to ambush," said Pike. "I wouldn’t count on the (Buffalo and Cougar) having an immediate impact because the military doesn't have the sufficient numbers to make a difference."


ทหารยอมรับเต็มๆ



But Force Protection claims its "blast design technology" is winning over troops.



"The response from the field has been overwhelmingly positive," said Jeff Child, a spokesman for the company. He said the vehicles uncovered roughly 200 IEDs in and around central Iraq this past winter.

Lt. Cameron Chen, part of an ordnance-disposal unit near Fallujah, Iraq, recently wrote Force Protection about an encounter with the insurgency's most popular method of engagement.

"Two of my men in Ramadi survived an IED attack while in the Cougar," Chen wrote. "So I am a believer. All agree that it's the safest vehicle."


สุดไฮเทคด้วนคอมพิวเตอร์และเครื่อง “รบกวน” สัญญานวิทยุ

(Troops Get New Jammers)

The Cougar, the smaller of the two vehicles, weighs about 16 tons, and is more versatile. It can be configured into a basic, 14-man troop transport (with air conditioning), or an advanced command-and-control center with wireless computers and radio-frequency jammers to disable IED detonators.


มี “มือหุ่นยนต์” ไว้ตรวจสอบระเบิด โดยไม่ต้องลงจากรถ



The 24-ton Buffalo is a bomb-clearing workhorse. When outfitted with an external camera, a 30-foot robotic arm and an attachment called "The Claw" that resembles a super-sized garden tool, the "troops don’t have to leave the vehicle to investigate what might be an explosive," said Child.

The inspiration for the armored trucks brings up some controversy. Vehicles closely resembling the Buffalo and Cougar were first engineered by the South African military and were used extensively to enforce apartheid.

Les Switzer, a journalism professor at the University of Houston, covered the apartheid uprisings for South African newspapers during the 1970s and '80s. He said black South Africans gave the hated vehicles a derogatory nickname: the "Saracen."

"The mere presence of a Saracen struck fear in the people," said Switzer, who wrote and edited seven books on apartheid, including South Africa's Alternative Press: Voices of Protest and Resistance, 1880s-1960s.


สร้างจากโรงงานใหม่สุดในสหรัฐ

Following the end of apartheid in the early 1990s, Switzer said some of South Africa’s best engineers, scholars and scientists left the country.



Some found their way to Charleston, South Carolina, Force Protection's hometown,



and two of the original scientists from the early days of the Saracen have been with Force Protection since the company's inception in 1997, Child said. He declined to provide their names but said the scientists did work for the South African military at one time.



Child said Force Protection has indeed adopted some fundamental design concepts from vehicles manufactured by the South African military, but has added many improvements.

And the company bristled at the South African connection. In a letter, the company said attempting to connect the technology to the apartheid regime of South Africa "is as outrageous as attempting to tie Boeing commercial aircraft to the German invention of the jet engine during World War II.


สนธิเคย “ตอกย้ำ” สนับสนุน BTR3E จากยูเครน



พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก กล่าววันนี้ (5 ส.ค.) ก่อนเดินทางไปร่วมงานวันครบรอบพระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ถึงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ของกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ว่า ในการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ดังกล่าวมีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ตรงขีดความสามารถและภารกิจของหน่วย ยืนยันว่าทุกขบวนการเป็นไปด้วยความโปร่งใส เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการในการพิจารณา ทั้งในส่วนของ พล.ร.2 รอ.และกรมสรรพาวุธทหารบก โดยมีการเดินทางไปศึกษาดูงานยังโรงงานผลิตที่ประเทศยูเครน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องพิจารณามายังตนก่อนส่งเรื่องไปยัง
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม



ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวต่อถึงกรณีมีการระบุว่าบริษัทค้าอาวุธจ่ายค่าคอมมิสชันให้คณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อดังกล่าว ว่า ต้องถามบริษัทค้าอาวุธดังกล่าวดูเองว่าจ่ายให้ใครหรือไม่ ตนไม่ทราบเรื่อง งบประมาณในการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง จำนวน 4,000 ล้านบาท เมื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและขีดความสามารถแล้ว สามารถจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางได้ทั้งหมด 96 คัน


อย่าเร่งซื้ออาวุธ



16 กรกฎาคม 2550 22:49 น. ความพยายามเร่งผลักดันการจัดซื้อปืนเล็กสั้นจากอิสราเอลเอาไปรบกับโจรมุสลิมในภาคใต้ แบบวิธีพิเศษหรือยัดเยียดให้มีการประมูลแบบตัดสินล่วงหน้า เร่งปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ กำลังถูกจับตาเฝ้ามองว่าใครต้องการเงินเร่งด่วน สมคบกับพ่อค้าเพื่อหาเงินเป็นทุนเล่นการเมือง หรือเก็บไว้ใช้หลังเกษียณอายุ

นับเป็นความแปลกประหลาดโดยแท้ ที่คิดเอาปืนยิวไปยิงกับโจรมุสลิม ตอกย้ำความรู้สึกการเป็นปฏิปักษ์ และเป็นการซื้อแบบอาศัยช่วงเวลาซื้อปืนจากสหรัฐโดยตรงไม่ได้ พ่อค้าจึงวิ่งเต้นเปลี่ยนเงื่อนไข

ประเด็นเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาให้รอบคอบ ดูความโปร่งใส มองการณ์ไกลกับความสัมพันธ์กับองค์กรมุสลิม ซึ่งกำลังจะจัดการประชุมในประเทศไทยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า และเลขาธิการองค์กรมุสลิมโลกก็จะมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง ขณะที่สถานการณ์ในภาคใต้เจ้าหน้าที่กำลังอยู่ในสภาพตีตื้น ได้เปรียบ สามารถจับกุมหัวโจกตัวการได้เป็นจำนวนมาก

เช่นกันกับความพยายามซื้อรถรบหุ้มเกราะล้อยางจากยูเครน ซึ่งเป็นรถตกรุ่นยุคสงครามเย็น ซึ่งผู้ถือสิทธิบัตรและเจ้าของดั้งเดิม คือรัสเซีย ได้ปรับปรุงสมรรถนะอย่างมากมายหลังจากเผชิญสงครามในอัฟกานิสถานและเชชเนีย ทำให้คุณภาพเหนือกว่าของยูเครนอย่างเทียบกันไม่ติด

ทั้งนี้ เป็นเพราะการวิ่งเต้นยัดเยียดรถยูเครนหลังจากการรับซองปิดประมูลแล้วนั่นเอง หากกองทัพบกต้องลงทุนซื้อเป็นเงิน 4 พันล้านบาท นอกจากจะได้รถรบล้าสมัย ไม่รับรองการส่งอะไหล่ ปรับปรุงความทันสมัยแล้ว คงจะเป็นการนำทหารไทยไปเสี่ยงชีวิตกับรถรบด้อยสมรรถนะ เป็นการสูญเสียระยะยาวทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล

นอกจากปัญหาคุณภาพ การจัดซื้อไม่โปร่งใสแล้ว ยังมีข้อครหาว่ามีการพยายามหาเงินทุนประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ไปเป็นทุนการเมืองหรือการเกษียณอายุอีกเช่นกัน นับเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับผู้นำกองทัพและคณะรัฐมนตรีแน่นอน ทั้งความสัมพันธ์โดยรวมกับรัสเซียต้องคำนึงถึงในระยะยาว ถ้าหากว่าคุณภาพรถรบของรัสเซียเหนือกว่าของยูเครนอย่างเทียบกันไม่ได้ หากมีการทดสอบความสามารถอย่างโปร่งใส

ยุคนี้ต้องมีความโปร่งใส ไร้การวิ่งเต้น หรือการจัดซื้ออาวุธคุณภาพต่ำให้กองทัพ เพราะผู้มีอำนาจซื้อย่อมเกษียณอายุอีกไม่นาน ปล่อยให้พี่น้องทหารต้องเอาชีวิตไปเสี่ยง เป็นเพราะความอยากได้เงิน และความโลภขาดความรักชาติของพ่อค้าอาวุธเห็นแก่ได้เท่านั้น



นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ และคณะรัฐมนตรี ย่อมรู้ดีว่าควรทำอย่างไร เพราะหัวหน้ารัฐบาลก็เป็นอดีตนายทหาร เชี่ยวชาญการรบ การปล่อยให้ซื้อหาอาวุธด้วยมีเงื่อนงำ แล้วได้สินค้าคุณภาพต่ำย่อมเป็นการสร้างเวรกรรมให้กลุ่มผู้ต้องสูญเสียญาติมิตรเพราะอาวุธไร้คุณภาพ


“เงื่อนงำ BRT3E เต็มไปหมด”



แผนการซื้อรถรบบุโรทั่ง หรือ APC Armoured Personnel Carriers ล้อยางจากยูเครนโดยกองทัพบก หลังจากการประมูลอย่างมีเงื่อนงำ ถึงพริกถึงขิง และการวิ่งเต้นจนตีนขวิดนั้น ได้สร้างความขบขันปนความสมเพชเวทนาสำหรับผู้รู้เบื้องหน้าและเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร

อนาคตของประเทศไทย หรือกองทัพไทยจะน่าอนาถเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับรถรบแปดล้อของยูเครนเท่านั้น เพราะเห็นอ้างว่าจะเอาไปประกอบภารกิจด่วนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ น่าจะเอาไปเป็นเป้าซ้อมยิงจะเหมาะกว่า

แน่ใจเรอะว่ารถรบของยูเครน ที่สุดแสนบุโรทั่ง จอดทิ้งไว้ตั้งนานกว่า 20 ปี จะมีสมรรถนะดี แม้จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้ดูดี ย้อมแมวให้เนียนสำหรับคนซื้อจากประเทศไทย



รู้ประวัติความเป็นมาของรถรบเอพีซีของยูเครนหรือยัง ? โรงงานนี้อยู่ที่ Kharkiv City ผลิตรถรบหลายประเภท ! รถรุ่นนี้สร้างสมัยที่โซเวียตยังไม่แตกแยกเป็นเสี่ยงๆ ยูเครนก็เป็นเพียงแหล่งผลิตแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ยุโรปตะวันออก ไม่ต้องขนมาจากมอสโก ถ้าหากมีการรบราฆ่าฟัน สงครามเย็นกลายเป็นสงครามร้อน



ใครได้ดูหนังเรื่อง ลอร์ด ออฟ วอร์ นำแสดงโดย นิโคลัส เคจ นักค้าอาวุธข้ามชาตินั่นแหละ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพอาวุธของยูเครน อาวุธของยูเครนต้องอาศัยทุกอย่างจากรัสเซีย เริ่มจากการออกแบบ เทคโนโลยี อะไหล่ อาวุธประจำรถ อุปกรณ์ต่างๆ และด้านโลจิสติกส์ และที่สำคัญคือสิทธิบัตรในการผลิต และความสามารถในการปรับปรุงสมรรถนะ รถรบเอพีซีจะดีกว่าของรัสเซีย ซึ่งเป็นต้นตำรับได้อย่างไร

"บิ๊กบัง" และคณะ ก็เคยไปเยี่ยมโรงงานบุโรทั่งของรถยูเครนตอนต้นปีที่ผ่านมาแล้วไม่ใช่เรอะ แล้วมีอะไรประทับใจ เมื่อเทียบกับต้นตำรับคือ รัสเซีย คณะอื่นๆ ก็ตามหลัง "บิ๊กบัง" แล้วส่ายหัวดิกๆ ไม่ใช่เรอะ ?

การซื้อรถรบเอพีซีคราวนี้มีผู้ประมูล 10 ราย แต่รายยูเครนใช้กำลังภายในดันเข้าไปหลังจากเขาปิดรับข้อเสนอแล้ว ใครเป็นเอเย่นต์ ไม่น่าสงสัย ได้ข่าวว่าแต่ละรายของนักค้าอาวุธเป็นนักเข้าประตูหลังบ้านกันเก่งๆ ทั้งนั้น

ถามจริงๆ เหอะว่า "บิ๊กบัง" และกองทัพบกไม่รู้หรือว่าเกิดอะไรขึ้นกับโรงงานผลิตรถรบเอพีซีของยูเครนแห่งนี้ เพราะเขาเลิกผลิตไปแล้ว ทุกวันนี้เป็นเป้าหมายของการแย่งกันซื้อเพื่อเอาไปผลิตสินค้าอื่นๆ



ปี 1996 ปากีสถานเคยซื้อรถถังผลิตจากโรงงานนี้ เป็นรุ่น T80 กะว่าจะซื้อไป 300 ตัว พอส่งไปได้ 12 ตัว ก็มีปัญหา หลังจากทำท่าว่าจะดี ปัญหาก็คือ พอยิงไปแล้วปลอกกระสุนบวมละลาย ลูกปืนแตกกระจาย แทนที่จะเข้าเป้า ก็โดนพวกเดียวกันในรถถังตายเละ อะไรจะแหลกนั้น ไม่ต้องเดาให้เสียเวลา นากจากข้าศึกไม่เป็นอะไร พวกเดียวกันตายเป็นเบือ ทุกวันนี้ปากีสถานชีช้ำมาก กำลังขอเงินคืนจากยูเครนอยู่ แต่ว่าการเอาอ้อยออกจากปากช้างนั้นดูจะง่ายกว่าเยอะ หรือสมัยนี้ต้องบอกว่าขอให้มหาเศรษฐีบางตระกูลยอมจ่ายภาษีเป็นหมื่นๆ ล้านบาท น่าจะง่ายกว่า

ผลสุดท้ายเป็นอย่างไร ปากีสถานต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน เครื่องยนต์ และขอซื้อจากรัสเซีย เห็นว่าเป็นรุ่นเดียวกัน แต่รัสเซียบอกว่า "เสียใจ" ไม่เกี่ยวกัน แม้ว่าจะผลิตจากต้นแบบเดียวกัน แต่เดี๋ยวนี้แยกประเทศกันอยู่แล้ว เงินก็ไม่ได้คืน อะไหล่ก็หาไม่ได้ รถถังที่ซื้อมา ทำประโยชน์สู้ถังน้ำเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งยังไม่ได้ เอาไว้ปลูกสะระแหน่ยังพอไหว


สี่บริษัทเข้าแข่งขัน

(This T-80BV has reactive armour)

มาจากแคนาดา รัสเซีย ยูเครน ฟินแลนด์ ! แต่เดิมเอเย่นต์ฟินแลนด์อยากวิ่งเต้นเปลี่ยนสเปคจากแปดล้อเป็นหกล้อ แต่สายเกินไป ก็เลยไปวิ่งหาจากแหล่งอื่นๆ ผลสุดท้ายก็ได้จากยูเครนนี่แหละ จะซื้อรถรบจากยูเครนต้องคิดหน้าคิดหลัง เพราะของรัสเซียนั้นเขาพัฒนาไปหลายชั้นแล้ว ตัวถังรถนั้นเขามีเหล็กหนาหลายชั้น ป้องกันการเจาะทะลวงของจรวดอาร์พีจี เขาเรียกว่า Multiple Armoured Layers หรือผิวหุ้มตัวถังหลายชั้นนั่นเอง

(Bison armoured personnel carrier with multiple layered armour)

พอเจาะเข้าชั้นแรก เจอชั้นต่อไป ลูกจรวดหรือลูกปืนก็แฉลบ ทหารอยู่ข้างในก็ปลอดภัย ไม่โดนทะลวงแล้วระเบิดข้างในเหมือนรถบุโรทั่งรุ่นก่อน ตอนตรวจสอบคุณภาพ มีข่าวว่ารถจากแคนาดามาเป็นอันดับ 1 แต่ทำไมไปเลือกรถยูเครน คงเป็นเพราะราคาถูกและมีอะไรจูงใจจนห้ามซื้อไม่ไหว ถ้าซื้อจากยูเครน ทำไมไม่ซื้อจากรัสเซีย เพราะเขารับประกันเต็มที่ อะไหล่พร้อม บริการหลังการขายทุกอย่าง และรถบุโรทั่งจากยูเครนก็เป็นพวกตกรุ่น โรงงานก็เก๋ากึ้ก จะเอาไปผลิตสินค้าอย่างอื่นแล้ว ใครชนะประมูลก็ได้ไป

ถ้าซื้อมา เราจะหาอะไหล่ไม่ได้ ซ่อมไม่ได้ การช่วยเหลือด้านเทคนิคก็ไม่มี อย่าหวังว่าจะไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซียเพราะมันคนละชั้นแล้ว ไหนๆ ก็จะซื้อรถรบโจรมุสลิมในภาคใต้ ขอให้มีอาวุธดีๆ ให้ทหารไทยอุ่นใจว่าไม่ตายง่ายๆ เถอะ เอาสินค้าดี ป้องกันชีวิตทหารไทยจะได้บุญนิ ! อิอิอิ !!!


บริษัทประสานงาน บรรยายสรุป BTR3E

ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์

รายละเอียด ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1

ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์



ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เป็นยานเกราะล้อยางประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก ผลิตจากประเทศยูเครน ตัวถังรถ ผลิตด้วยเหล็กกล้าชนิดแข็งมากผสมใยสังเคราะห์ KEVLAR จากด้านในของตัวรถ (VERY HARD STEEL & REINFORCE WITH THE KEVLAR INSIDE) ป้องกันกระสุน ขนาด ๗.๖๒ มม. โดยสามารถปรับปรุงให้ป้องกันกระสุน ขนาด ๑๒.๗ มม. (.๕๐ นิ้ว) ได้ด้วยการเสริมแผ่นเซรามิค บรรทุกกำลังพลรวม ๙ นาย ประกอบด้วย ผบ.รถ, พลขับ, พลยิง และพลประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

๑.๑ ระบบอาวุธ

๑.๑.๑ ป.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ มม. แบบ ZTM-1 จำนวน ๑ กระบอก ติดตั้งที่ป้อมปืนด้านบนตัวรถ พร้อมกระสุนจำนวน ๔๐๐ นัด ซึ่งมีอัตราการยิง ๓๓๐ นัด/นาที โดยมีระยะยิงหวังผลทางภาคพื้น ที่ระยะ ๔,๐๐๐ ม. และทางอากาศ ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.

๑.๑.๒ ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง แบบ BARRIER (BARRIER ANTI- TANK MISSILE SYSTEM: BARRIER ATMS) นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LASER BEAM) พร้อมลูกจรวด จำนวน ๔ ลูก ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๕,๕๐๐ ม.

๑.๑.๓ ค.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ ม. แบบ AG-17 หรือ AGS-17 (30 mm AUTOMATIC GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดยิง จำนวน ๘๗ นัด ซึ่งใช้หวังผล ที่ระยะ ๑,๗๐๐ ม.

๑.๑.๔ ปก.ขนาด ๗.๖๒ มม. (7.62 mm MACHINE GUN) แบบ KT-7.62 (PKT) พร้อมกระสุน จำนวน ๒,๐๐๐ นัด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.

๑.๑.๕ เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด ๘๑ มม. (81 mm SMOKE GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดควัน จำนวน ๖ นัด

๑.๒ เครื่องยนต์ดีเซล แบบ UTD-20 ขนาด ๓๐๐ แรงม้า

๑.๓ เครื่องเปลี่ยนความเร็วแบบ ทางกล (MACHANICAL)

๑.๔ ระบบพยุงตัวรถ แบบอิสระ (INDEPENDENT)

๑.๕ ยางล้อแบบ RUN FLAT สามารถควบคุมการเติมลมได้ในขณะขับเคลื่อน

๑.๖ น้ำหนักรถ ๑๖ ตัน

๑.๗ กำลังขับเคลื่อน ๑๘.๘ แรงม้า/ตัน

๑.๘ ความเร็วสูงสุด บนถนน ๘๕ กม./ชม.

ในน้ำ ๘- ๑๐ กม./ชม.

๑.๙ ความเร็วต่ำสุด ๕ กม./ชม.

๑.๑๐ ระบบปฏิบัติการ บนถนน ๗๕๐ กม./ชม.

ในภูมิประเทศ ๓๕๐ กม./ชม.

๑.๑๑ อุณหภูมิการใช้งาน ตั้งแต่ – 40C ถึง +55 C

๑.๑๒ ข้ามเครื่องกีดขวาง ขนาดความสูง ๐.๕ ม.

๑.๑๓ ข้ามคูดักรถถัง ขนาดความกว้าง ๒ ม.

๑.๑๔ ไต่ลาดชัน ๓๐0

๑.๑๕ การไต่ลาดเอียง ๒๕0

๑.๑๖ ระบบเครื่องควบคุมการยิง ประกอบด้วย

๑.๑๖.๑ ระบบรักษาการทรงตัวของปืน (STABILIZER)

๑.๑๖.๒ ระบบติดตามเป้าหมาย (TRACK SIGHTING SYSTEM) แบบกล้องทีวีกลางวัน/กลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (TV DAY & NIGHT WITH INTEGRATED LASER RANGE FINDER)

๑.๑๖.๓ ระบบกล้องตรวจการณ์ แบบมองรอบทิศทาง (PANORAMIC OBSERVATION SYSTEM)

๑.๑๗ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้

๑.๑๗.๑ กว้าน ขนาดแรงดึง ๖ ตัน

๑.๑๗.๒ เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ

๑.๑๗.๓ ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER

๑.๑๗.๔ ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION) ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์

๑.๑๗.๕ ระบบให้ความร้อน (HEATER) ขนาด ๑๘ กิโลวัตต์


ต้องจัดหากระสุนใหม่



เรื่องระบบอาวุธที่ติดตั้งมากับ BTR-3E1 นั้นแน่นอนว่าเป็นระบบอาวุธรัสเซียครับ อย่างเช่นปืนกลร่วมแกน KT-7.62(หรือ ปก.PKT ขนาด 7.62*54มม.) นี้ ทบ.ก็มีรถที่ใช้ปืนกลกระสุนขนาดนี้ใช้งานอยู่ครับเช่น ถ.Type 69-II เป็นต้น.ซึ่งปก.ร่วมแกนก็ใช้กระสุนขนาดเดียวกัน แต่ระบบอาวุธหลายๆระบบนั้นเป็นระบบที่เราไม่เคยใช้มาก่อนครับ เช่น ปืนใหญ่หลักอัตโนมัติ
ZTM-1 30มม., เครื่องลูกระเบิดอัตโนมัติ 30มม. AG-17 30มม. และ Barrier ATGM
ซึ่งเราต้องมีการจัดหากระสุนมาใหม่ครับ


แต่โดยร่วมๆแล้ว BRT3E มีอำนาจการยิงสูงมาก

ดูตามสเป็กแล้ว ไม่ค่อยคับรถเกราะยูเครนตัวนี้ แถมอัพเกราะให้กันกระสุนขนาด 12.7 ได้ อย่างนี้ทำให้รถอึดขึ้นในการวิ่งสวนลูกปืน เหมาะกับการรบแบบใครดีใครอยู่แถวบ้านเรา ปืนกล 30 มม. ถ้าใส่กระสุนเจาะเกราะหัวทังเสตนเข้าไป รถถังเจอเข้ายังร้องจ๊ากล่ะคับ เป็นปืนขนาดเดียวกันกะ ปญอ.ที่คาง เอ.10 ของสหรัฐ แต่อ้ายนั่นเป็นปืนกลลำกล้องรวบคับ แถมยังมีมิซาล์ยต่อสู้รถถังด้วย นับว่ารถเกราะยูเครนตัวนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ล่ะคับ

ยานรบค่ายคอมเชื่อถือได้ในความแข็งแรงของโครงสร้าง และความเหนียวของเกราะ ถ้าได้ปืนตามรายการทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนสเป็กทีหลังแล้ว มันจะเป็นยานเกราะที่ใช้รบได้อย่างสมบรณ์ที่สุดทุกสมรภูมิ


รัสเซีย ไประท้วง” ปิดซองไปแล้ว

ที่ปรึกษาบริษัทค้าอาวุธรัสเซียร้อง สตง.ให้สอบการประมูลยานเกราะล้อยางเอื้อประโยชน์ให้บริษัทค้าอาวุธจากยูเครนคู่แข่งขัน เผยคณะกรรมการฯ ยอมให้ยื่นซองทั้งที่ปิดรับไปแล้ว แถมนำยานเกราะเก่ายุคสงครามเย็นนำมาย้อมแมวเป็นของใหม่ ขายให้กองทัพบกผิดเงื่อนไขข้อกำหนด เผย ผบ.ทบ.เห็นชอบผลประมูลแล้ว รอ ผบ.สูงสุด เสนอรมว.กลาโหม เซ็นอนุมัติ เตือนระวังซ้ำรอยทีวีวงจรปิดคุณภาพแย่



นายมงคล สติพลัน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายบริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด เข้าร้องเรียน ภายหลังเดินทางไปยื่นหนังสือที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อให้เข้าตรวจสอบการประมูลจัดซื้อจัดจ้างยานเกราะล้อยางของกองทัพบกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนายมงคล ระบุว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอแบบจากประเทศยูเครนทั้งที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนตามระเบียบการประมูลที่ถูกต้อง และทำผิดเงื่อนไขข้อกำหนดทีโออาร์

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวดำเนินการเพื่อจัดหายานเกราะล้อยางประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ สำหรับใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท


กรรมการคัดเลือกแบบอนุเคราะห์ BRT3E

ในหนังสือเรียกร้องดังกล่าวระบุว่า ตามหนังสือประกาศเชิญชวนบริษัทต่างๆ นำเสนอเอกสารและราคาเบื้องต้นด้วยตนเองในวันที่ 16 พ.ค.2550 ภายในเวลา 16.30 น. หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะปิดรับข้อมูล ซึ่งในวันดังกล่าวมีผู้นำเสนอรวมทั้งสิ้น 10 ราย และมีกำหนดให้มาฟังคำชี้แจงรายละเอียดและตอบคำถามในวันที่ 17 พ.ค.2550 ณ สโมสรกองทัพบก แต่ปรากฏว่าได้มีตัวแทนของบริษัทจากประเทศยูเครน ซึ่งไม่ได้มีการยื่นซองคัดเลือกตามกำหนดเวลาเข้ายื่นซองภายหลังโดยการอนุเคราะห์ของกรรมการคัดเลือกแบบยานเกราะบางท่าน จึงทำให้ผู้เสนอแบบรายอื่นไม่ได้รับความเป็นธรรมในขั้นตอนการคัดเลือกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

ทั้งนี้ ตามคำสั่งของกองทัพบกที่ 2/2550 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ได้ระบุกรอบอำนาจและหน้าที่ของคณะทำงานไว้ว่า ให้มีการพิจารณาเลือกแบบที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 แบบ และรายงานผลต่อคณะกรรมการมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ของกองทัพบกภายในเดือนพ.ค. 2550 ซึ่งภายหลังจากวันที่กำหนดให้มีการแสดงข้อมูลต่อคณะทำงานฯ ในวันที่ 21 – 22 พ.ค.ได้มีการคัดเลือกแบบจำนวน 4 แบบ ได้แก่ ประเทศแคนาดา (บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด) ประเทศรัสเซีย (บริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด) ประเทศฟินแลนด์ และประเทศยูเครน (บริษัท UKRSPETS Export จำกัด)


“สามปมใหญ่”

ผู้ร้องเรียน ระบุว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาผลการประมูล ได้ตัดสินในเบื้องต้นให้บริษัทจากประเทศยูเครน เป็นผู้ชนะการประมูลเนื่องจากเสนอราคาถูกที่สุด และ ผบ.ทบ. เห็นชอบในผลการประมูลแล้ว รอเสนอเรื่องให้ ผบ.สูงสุด เซ็นอนุมัติ ก่อนเสนอเรื่องไปยัง รมว.กลาโหม ทั้งที่มีข้อสังเกตว่า

1 ) บริษัทดังกล่าวทำผิดขั้นตอนไม่มายื่นซองตามกำหนด

2) บริษัทดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการประมูลที่ “คณะทำงานพิจารณาเลือกแบบยานเกราะล้อยางของกองทัพบก” ชี้แจงแก่ผู้แทนบริษัท เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2550 ณ แหล่งสมาคมนายทหาร กรมสรรพาวุธทหารบก โดยระบุไว้ในข้อ 3.2.1 ว่า “ต้องเป็นยุทโธปกรณ์ใหม่ ไม่เก่าเก็บหรือเคยใช้งานมาก่อน” ดังนั้น รถหุ้มเกราะที่นำมาเสนอต้องเป็นรถใหม่จากสายการผลิตใหม่ แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการได้คัดเลือกแบบโดยไม่ทราบมาก่อนว่ายูเครนไม่ได้มีสายการผลิตรถใหม่ แต่มีรถเก่าจำนวนมากที่พร้อมนำมาดัดแปลงเสนอขายให้กองทัพไทย

ทั้งนี้ รถยานเกราะที่ยูเครนนำมาพัฒนาเป็นรุ่นปรับปรุง ชื่อรุ่น BTR 3 E 1 ที่นำมาเสนอขายให้กองทัพบก เป็นรถยานเกราะที่ดัดแปลงมาจากยานเกราะรุ่น BTR 70 ของสหภาพโซเวียต ซึ่งยุติการขายไปแล้วหลายปี แต่มีประจำการอยู่ในยูเครนมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นจำนวน 1,105 คัน

3) มีข้อสังเกตว่าล้อยางของยานเกราะรุ่น BTR 3E1 ไม่สามารถทนทานต่อตะปูเรือใบ กระสุนปืนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้ เนื่องจากประเทศยูเครนไม่มีเทคโนโลยีสำหรับยางป้องกันกระสุนขนาดดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การใช้งานในกองทัพบกได้


ทหารไทยไป “ดูโกดังไม่ใช่สายการผลิต”

ผู้ร้องเรียน ยังชี้ว่า การเดินทางไปดูงานของคณะกรรมการ ระหว่างวันที่ 19 – 24 มิ.ย. 2550 ทางประเทศยูเครนได้พาคณะไปดูโรงงานเก็บยุทโธปกรณ์ต่างๆ ทั้งรถถัง รถหุ้มเกราะซึ่งเป็นของเก่าสมัยที่ยูเครนอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต และสหภาพโซเวียต ใช้ยูเครนเป็นฐานการผลิตและคลังเก็บยุทโธปกรณ์ในยุคสงครามเย็น หรือเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลาย และยูเครนแยกตัวออกมาตั้งเป็นประเทศ นั้น มีคำถามว่า การเดินทางไปดูรถหุ้มเกราะล้อยางและโรงงานสต็อกอะไหล่ของคณะกรรมการ ได้ตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ว่าเป็นชิ้นสำหรับอะไหล่รถหุ้มเกราะที่ผลิตใหม่หรือเป็นอะไหล่เก่าที่สำรองไว้ตามมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง การไปดูงานของคณะกรรมการฯ อาจได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้ดูรายการผลิตรถใหม่


ทูตร่อนหนังสือประท้วงถึงสนธิ



ในการประมูลจัดซื้อรถยานเกราะล้อยางครั้งนี้ นายวลาดิเมียร์ กราฟอฟ ผู้ช่วยทูตพาณิชย์รัสเซียประจำประเทศไทย ผู้ได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการในการเสนอขายยานเกราะล้อยางในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ได้ทำหนังสือไปถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการกองทัพบก เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2550 สอบถามถึงความชัดเจนโปร่งใสในการคัดเลือก จัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกในครั้งนี้ เนื่องจากในบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 10 แบบ 10 บริษัท จาก 10 ประเทศ ไม่ปรากฏการเข้าร่วมของรถจากประเทศยูเครนเลย



ทางด้านนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวแล้วและคาดว่าจะมีการเสนอผู้ว่าการ สตง. เพื่อพิจารณาตรวจสอบภายในสัปดาห์นี้

อนึ่ง การจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อป้องกันเหตุร้าย เช่น การติดตั้งระบบทีวีวงจรปิด ที่ผ่านมามีปัญหาใช้งานไม่ได้หรือใช้ได้ไม่เต็มที่ เช่น เหตุการณ์ระเบิดกลางหาดใหญ่ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทีวีวงจรปิดได้เพราะคุณภาพไม่ดี ไม่สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้ต้องสงสัยได้ชัดเจน


คนสนับสนุน BRT3E ยังมี

รถเกราะล้อยางนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องติดอาวุธขนาดหนักครับ เพราะภารกิจหลักของมันคือ ขนส่งทหารราบ ซึ่งรถเกราะทั้ง Stryker ของสหรัฐ LAV-III ของแคนนาดา หรือตระกูล BTR ของรัสเซียและยูเครน ก็จะติดตั้งปืนกลเป็นอาวุธหลักทั้งสิ้นครับ ซึ่งถ้าต้องการภารกิจที่แตกต่างออกไป จะมี variant ให้เลือกว่าจะติดตั้งป้อมปืนรถถัง จรวดต่อสู้รถถัง หรือจรวดแซมครับ

ตั้งแต่ 2 ปีโน้นทบ.เลือก LAV-25 ของแคนนาดาเอาไว้ โดยแลกกับข้าว แต่โครงการล้มไป มาคราวนี้จะเอา BTR-3 รุ่นเดียวกับที่พม่าสั่ง ซึ่งผมไม่เชื่อว่าระบบของมันจะเข้ากับกองทัพเราได้ดี อีกทั้งยังน่าจะมีปัญหาการซ่อมบำรุงอาวุธใหม่ ๆ จากค่ายโซเวียตเดิมที่เราไม่เคยมีอะไหล่ตามมาอีกด้วยครับ ส่วนตัวสนับสนุนให้เลือกของแคนนาดาหรือของสหรัฐมากกว่าครับ (LAV-III,Stryker) ไม่อยากให้ซื้อมา วิ่งได้แค่ 5 ปี แล้วก็จอดสนิท

แต่ทั้งนี้ขอยืนยันว่า รถเกราะของยูเครนสามารถกันกระสุนได้แน่นอน และยูเครนก็มีเทคโนโลยีที่ว่านี้แน่นอน อีกทั้งรถในตระกูลนี้ยังไม่ปิดสายการผลิตแต่อย่างใด ทั้งนี้ ถ้าตัดเรื่องมีนอกมีในออกไป ถ้าสำนักข่าวในบ้านเราศึกษาตลาดอาวุธมากกว่านี้สักนิด จะพบว่าการส่งหนังสือในลักษณะนี้คือแท๊กติกในการขายอาวุธของแต่ละฝ่าย ที่จะดิสเครดิตซึ่งกันและกันเท่านั้น และส่วนใหญ่ข้อมูลที่กล่าวมาในหนังสือก็จะเป็นข้อมูลประเภทศรีธนนท์ชัย หรือจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่เอามารวมๆ กันให้ดูเหมือนจริงครับ ซึ่งไม่ว่าฝ่ายไหนก็ทำกันอย่างนี้ ฉะนั้น การนำเสนอข่าวของสำนักข่าวในบ้านเราควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดด้วยครับ

ถ้าจะตรวจสอบ ไปตรวจสอบประเด็นที่ว่า ทำไมรถเกราะยูเครนถึงแหกด่านมาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ดีกว่าหรือครับ แทนที่จะเอาข้อมูลมั่ว ๆ ของบริษัทที่เขาดิสเครดิตกันมาเป็นประเด็นทางการเมือง แล้วสุดท้าย ถ้าโครงการล้ม ทหารภาคใต้ไม่ได้รถเกราะ ยังต้องนั่งรถกระบะ นอกจากโทษคนทุจริตแล้ว


"อนุพงษ์" ยันจัดซื้อ "ยานเกราะล้อยาง" จากยูเครน โปร่งใส-รอบคอบ แต่ยังไม่มีการประมูล แต่วงในกระซิบได้ข้อยุติแล้ว ติงเป็นของเก่า-ไม่คุ้มค่า เตือนปัญหา "เก่าเก็บ" แถมข่าวสะพัดค่าคอมฯ 20%


อนุพงค์ “ตอบข้อข้องใจ”

ข้อครหาว่าเป็นรถเก่า...เป็น "รถมือสอง" ซ้ำยังอาจมีปัญหาเรื่องการ "ส่งกำลังบำรุง" ในระยะยาว และการออกแบบที่ค่อนข้างล้าสมัย เพราะต้องขึ้น-ลงด้านข้างของตัวรถ ในขณะที่รถของคู่แข่งอย่างแคนาดาและรัสเซีย จะขึ้น-ลงด้านท้ายรถ ซึ่งน่าจะเหมาะสมมากกว่า !!

ส่วนที่มาของโครงการจัดซื้อ ซึ่งกำลังกลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในกองทัพ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2537 เรื่อยมาจนสมัยที่ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) โดยครั้งนั้นกองทัพมีความเห็นชอบว่าจะจัดซื้อรถยานเกราะจากบริษัทในประเทศแคนาดา

แต่เนื่องจากสมัยนั้นกองทัพไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อ เพราะเดิมตั้งวงเงินงบประมาณไว้ที่ 5,000 กว่าล้านบาท โดยจะสามารถจัดหาเข้าประจำการได้ 196 คัน แต่พอประสบ "วิกฤติค่าเงินบาท" ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาท

ต่อมารัฐบาลได้ตัดงบประมาณของกองทัพลง จึงสามารถจัดหาเข้าประจำการได้เพียง 96 คัน วงเงิน 8,000 ล้านบาท กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงลดจำนวนเหลือเพียง 48 คัน วงเงิน 4,000 ล้านบาท แต่ก็ยังจัดซื้อไม่สำเร็จเรื่อยมา กระทั่งจะมีการซื้อรถถังจากประเทศยูเครนในปัจจุบัน โดยก่อนหน้านั้น คณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์ (กมย.) ของกองทัพบก (ทบ.) ได้พิจารณาคัดเลือกแบบของรถยานเกราะล้อยาง 4 แบบ

1.บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด ประเทศแคนาดา 2.บริษัท โรสโอโบรอน เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ประเทศรัสเซีย 3.บริษัทของทางการประเทศฟินแลนด์ 4.บริษัท UKRSPETS Export จำกัด ประเทศยูเครน

เมื่อกองทัพแสดงท่าทีว่าจะจัดซื้อรถยานเกราะจากประเทศยูเครน จึงมีเสียงแสดงความไม่เห็นด้วยตามมา เพราะเมื่อพิจารณาจากคู่แข่งอีก 3 ราย ล้วนไม่เห็นว่ารถยานเกราะของยูเครนจะเหนือกว่าตรงไหน นอกจากนี้ ยังมีการร้องเรียนถึงความ "ไม่โปร่งใส" ในการจัดซื้อครั้งนี้อีกด้วย !!

ทั้งนี้ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เคยแสดงความเห็นตรงกันว่า รถจากยูเครนเป็นรถเก่า มือสอง และอาจมีปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุง ที่สำคัญมีแบบที่ค่อนล้างล้าสมัย อีกทั้งการขึ้น-ลงยังต้องใช้ด้านข้างของตัวรถ ในขณะที่รถถังของแคนาดาและรัสเซีย จะเป็นการขึ้น-ลงด้านท้ายของรถ จึงน่าจะมีการปรับให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ชี้แจงว่า การจัดซื้อครั้งนี้เป็นโครงการงบประมาณผูกพัน 3 ปี ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว เมื่อถามว่า เหตุใดจึงจัดซื้อรถถังจากประเทศยูเครน ทั้งที่หลายฝ่ายมองว่า สมรรถนะและความคุ้มค่าของรถถังจากอีก 3 ประเทศ มีศักยภาพเหนือกว่า

"รถที่ดีกว่านี้ หรือแพงกว่านี้ก็มีอยู่แล้ว แต่คำว่าดีคืออย่างไร อาจจะมีเนี้ยบ หรือสวยกว่า แต่ถ้ารบกันจะเลือกรถที่ดีที่สุด และใช้ประโยชน์ดีที่สุด" ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ชี้ถึงเหตุผลที่เลือกรถรุ่นนี้


อนุพงษ์ย้ำ “กองทัพไม่ซื้อเศษเหล็ก”

ส่วนที่มีการกังขา ทำไมต้องเป็นของประเทศยูเครน เพราะโรงงานผลิตรถยานเกราะล้อยางได้เลิกทำไปแล้ว และระยะยาวอาจมีปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุงนั้น พล.อ.อนุพงษ์ ตอบว่า "ใครจะพูดอย่างไรให้ไปฟ้องร้องกันเอง แต่เราคงไม่ไปซื้อเศษรถมาใช้ในกองทัพบกก็แล้วกัน และปกติจะมีการค้ำประกันว่า ส่งได้ขั้นต่ำ 10 กว่าปี แต่บริษัทที่ผลิตมาส่วนใหญ่จะสามารถรองรับอะไหล่ถึง 20 กว่าปี ซึ่งประเทศไทยก็ใช้ยานพาหนะประมาณนั้น อย่างรถบรรทุกที่ใช้กันอยู่ประมาณ 20 กว่าปี รถยีเอ็มซีก็จัดซื้อประมาณปี 2521-2522 ก็ประมาณเกือบ 30 ปีแล้ว"

ความคืบหน้าในการจัดซื้อ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นมีการประมูล และทั้งหมดก็ยังไม่ได้มีการประมูลใดๆ ทั้งสิ้น โดยการจัดซื้อจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ (กมย.) ซึ่ง กมย.ก็พิจารณาแล้ว ก็รับได้ แต่ยืนยันว่ายังไม่มีการประมูลทั้งสิ้น

ในส่วนข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ ผู้ช่วย ผบ.ทบ.กล่าวยืนยันว่า เป็นธรรมดาของผู้ที่เสียผลประโยชน์ก็อาจจะโจมตี แต่การจัดซื้อจะมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกับกองทัพ ยืนยันว่า ไม่มีใครได้ผลประโยชน์ ทางคณะกรรมการสามารถรับรองได้ อีกทั้งโครงการจัดซื้อยังไม่ถึงขั้นประมูล และการจัดซื้อยังต้องผ่านการพิจารณา กมย.กองทัพบก

สอดคล้องกับมุมมองของวงในในแวดวงจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพ ซึ่งยืนยันถึงความโปร่งใสของโครงการนี้ โดยระบุว่า กองทัพบกยังไม่มีการพิจารณาว่าจะจัดซื้อรถยานเกราะจากประเทศใด และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และการพิจารณาจัดซื้อของกองทัพบกมีความโปร่งใส โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาในแต่ละครั้งอย่างรอบคอบ "ขอให้เชื่อมั่นว่า ยุทโธปกรณ์ที่จะจัดซื้อไม่ได้มองว่าใครขายหรือใครได้ประโยชน์ แต่มองว่าต้องได้ยุทโธปกรณ์ที่ดี เป็นที่นิยม และมั่นใจในการปกป้องประเทศ" แหล่งข่าววงใน ยืนยัน


แหล่งข่าวทหาร “ทหารตีกันเองยับ”

แต่แหล่งข่าวระดับสูงอีกรายในกองทัพ กลับให้ข้อมูลที่ต่างออกไป โดยระบุว่า ขณะนี้การจัดซื้อรถยานเกราะล้อยางจากประเทศยูเครน "ได้ข้อยุติ" แล้ว โดย พล.อ.สนธิ ได้อนุมัติในหลักการในการจัดซื้อตามที่คณะกรรมการคัดเลือกแบบพิจารณา โดยมี พล.ท.บดินทร์ ลักษมีวาสิน ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุง (ผช.เสธ.ทบ.ฝกบ.) เป็นประธาน ร่วมกับกรมสรรพาวุธ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ที่เสนอมา

แหล่งข่าวรายนี้ คัดค้านการจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครนอย่างแข็งขันว่า จริงๆ แล้วโครงการดังกล่าวไม่น่าจะถูกต้อง เพราะเดิมทีรถยานเกราะล้อยางเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมานานแล้ว และมีการทดสอบกันหลายครั้ง โดยกองทัพบกเห็นชอบที่จะเลือกรถของบริษัท ฮอคอายส์ จำกัด จากประเทศแคนาดา เนื่องจากเห็นว่ามีความสมบูรณ์ที่สุด แหล่งข่าวรายนี้ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เหตุใดคณะกรรมการคัดเลือกแบบจึงเลือกรถของยูเครน ทั้งที่เดิมทีผลการทดสอบสมรรถนะพบว่าของแคนาดามีสมรรถนะดีกว่า


แต่การจัดซื้อครั้งนี้กลับ "ไม่มีการทดสอบสมรรถนะ" !!!

แหล่งข่าวในกองทัพ ชี้ถึง "จุดด้อย" ของรถจากยูเครนว่า มีปัญหาในเรื่องทิศทางของ "ประตูรถ" ซึ่งเป็นประตูที่ต้องขึ้นลงจากด้านข้าง และจะมีปัญหาอย่างยิ่งในยามที่มีการสู้รบเกิดขึ้น "ปกติรถยานเกราะล้อยางจะต้องเปิดท้ายออก และกำลังพลจะหันหน้าเข้าหากันเหมือนนั่งรถสองแถว โดยเมื่อไปถึงสนามรบจะสามารถลงรถจากทางด้านหลังเพื่อเอาตัวรถเป็นที่กำบังได้ทันที ส่วนรถยานเกราะล้อยางที่จะจัดซื้อเวลาถึงสนามรบต้องหักเลี้ยวขวางลำเพื่อเป็นที่กำบัง ก่อนถึงจะปล่อยกำลังพลได้ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่มีความเหมะสม เป็นดีไซน์ที่ไม่ทันสมัยอย่างยิ่ง"


อาจถูกแคนาฟ้องเพราะไม่มีการทดสอบ

แหล่งข่าวคนเดิม เตือนว่า ผลที่จะตามมาคือ บริษัทของประเทศแคนาดาอาจจะฟ้องร้องเอาได้ เพราะไม่ได้มีการทดสอบรถของบริษัทยูเครน แต่มาเลือกของยูเครน ซึ่งไม่รู้ว่า พล.อ.สนธิ จะรู้เรื่องนี้หรือไม่

"งานนี้ถือว่าอันตรายมาก ถ้าซื้อไปเมื่อไร พล.อ.สนธิ จะรู้หรือไม่ว่า อาจจะต้องโดนเช็คบิลย้อนหลังเหมือนกรณีการซื้อรถดับเพลิงของ กทม. ที่การจัดซื้อยังมีปัญหาไม่จบสิ้น" ด้วยข้อจำกัด ซึ่งไม่มีความเหมาะสมในหลายๆ ด้านเช่นนี้ จึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงมีการพิจาณาจัดซื้อ และใครเป็นผู้ที่อยู่ "เบื้องหลัง" ในการเสนอเรื่องนี้ให้ พล.อ.สนธิ ทำการอนุมัติ


กำลังภายใน “จ่ายใต้โต๋ะ” หาเงินแล่นการเมือง

แม้จะไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นคนใช้ "กำลังภายใน" กรุยทางมาสู่การจัดซื้อเที่ยวนี้ แต่แหล่งข่าวรายนี้ ก็คาดว่า เรื่องนี้น่าจะมีเรื่อง "คอมมิชชั่น" เข้ามาเกี่ยวข้อง และคาดว่าน่าจะมีตัวเลขกลมๆ ยั่วใจไม่น้อย "ปกติการจัดซื้ออาวุธ นายหน้าทั่วไปจะได้ประมาณ 5-7% แต่สำหรับของยูเครน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเก่า ประกอบกับระบบการส่งกำลังบำรุงไม่มีประเทศไหนใช้แล้ว นอกจากประเทศยูเครนเท่านั้น จึงเชื่อว่า นายหน้าน่าจะได้ค่าตอบแทนสูงถึงประมาณ 20% เพราะราคาของมันถูก"

ข้อกังวลอีกประการที่แหล่งข่าวรายนี้ แสดงความห่วงใย คือ ความคุ้มค่าในการจัดซื้อ ซึ่งต้องพิจารณาถึงการส่งกำลังบำรุงในระยะยาว เพราะยานเกราะที่ซื้อมาปกติจะต้องใช้นานถึง 30 ปี แต่เขามองว่า ยานเกราะรุ่นนี้การส่งกำลังบำรุงคงจะไม่ยืนยาวถึง 30 ปี เพราะได้ของเก่าเก็บ ซึ่งหลักการจัดซื้ออาวุธตามปกติ กองทัพจะไม่ได้มองที่ "ราคาถูก" เพียงอย่างเดียว เพราะจะต้องพิจารณาดูสภาพ และวงรอบในการใช้งาน ไม่ใช่ซื้อมาราคาถูกจริง แต่ใช้งานได้ไม่กี่ปีก็เจ๊งแล้ว


ลูกน้องสนธิ “ซุกเรื่องให้สนธิ

แหล่งข่าวในกองทัพ กล่าวย้ำเตือนสติ พล.อ.สนธิ อีกรอบว่า เรื่องนี้ต้องลองนึกถึงประเทศยูเครน ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีในเรื่องต่างๆ ก็ยังไม่สมบูรณ์เท่าประเทศอื่น แค่เทียบกับรัสเซียยังไม่ได้เลย อีกทั้งโครงการนี้ ก็ถือว่า "เร่งรัด" เกินไป ซึ่งจะมาอ้างว่าเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิมก็ไม่ใช่ เพราะโครงการเก่าได้ตัดสินไปเรียบร้อยแล้ว และถ้าจะเริ่มโครงการใหม่ก็จะต้องทดสอบสมรรถนะกันใหม่

"โครงการนี้เร่งด่วนเกินไป พล.อ.สนธิ ตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลา พวกลูกน้องได้ทีก็ซุกขึ้นมา ตอนนี้ทหารเป็นใหญ่ จะของบประมาณก็ขอได้ง่าย เล่นกันแบบนี้ถือว่าอันตรายมาก ซึ่งเรื่องนี้จะต้องว่าไปตามขั้นตอน และต้องลงไปตรวจสอบด้วย เพราะถ้ามาทำผิดเองก็ถือว่าอันตรายมาก"

ท้ายที่สุด...เขาก็ได้แต่ภาวนาขอให้โครงการดังกล่าวมีอันต้อง "ชะงัก" ไปอีกครั้ง เพราะมันจะเป็นผลดีต่อ คมช.มากกว่าการเร่งจัดซื้อ ทั้งที่ยังมีปมข้อครหามากมายเช่นนี้


http://thaksin.wordpress.com/วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิ/
วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน
ปี 2549: วิกฤตการณ์แห่ง “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” และการพังทลายของ “นิติรัฐ”

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2549 ในแง่มุมที่ยังไม่มีเอกสารใดนำเสนอต่อสาธารณะมาก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งวิกฤติอันนำไปสู่การทำรัฐประหาร19กันยา ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรัฐประหารและประเมิณสถานการณ์ทางด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงาปืนของเผด็จการทหาร

ผู้เขียนเรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 -กย. 2549 ว่า “วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน” เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนผู้ยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตยด้วยกระบวนการสองด้าน กล่าวคือ ด้านหนึ่ง ประนาม โจมตี ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กระทั่งมุ่งหมายปลิดชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร มุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่เลือกวิธีการ

ส่วนอีกด้านหนึ่งพวกเขาใช้ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน ภายใต้ Motto ที่ฟังดูแปลกๆ เช่น “ทวงคืนประเทศไทย” “ทำลายระบอบทักษิณ” “ถวายคืนพระราชอำนาจ” “สู้เพื่อในหลวง” “นายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7” เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป้าหมาย “ทักษิณ..ออกไป” ซึ่งจะทำให้ “กลุ่มอำนาจอื่น” เข้าควบคุม “อำนาจอธิปไตย” ได้ง่ายขึ้น

“กลุ่มอำนาจอื่น” ได้แสดงตนในนาม “คณะปฎิรูปการการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค)” ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาท เพื่อเติมน้ำมันรถถัง ให้เบี้ยเลี้ยงคนถือปืน จัดหากระสุนดินปืน เพื่อข่มขวัญ คุกคามประชาชนที่อาจคัดค้านพวกตน ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เอากองกำลังอาวุธควบคุมสื่อทีวี และออกประกาศ คำสั่ง ห้ามประชาชนทำในสิ่งที่พวกตนไม่ประสงค์ให้ทำ และคำสั่งให้ประชาชนปฎิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติให้รางวัลแก่ผู้เอาการเอางานต่อต้านระบอบทักษิณ แต่งตั้งองค์กรอิสระปูนบำเน็จแก่นักล่าระบอบทักษิณ แต่งตั้งข้าราชการและคณะรัฐมนตรีเพื่อควบคุมกลไกรัฐทั้งปวงให้อยู่ในความควบคุมของตน อำนาจอธิปไตยที่เคยเป็นของปวงชน อยู่ในเงื้อมมือกองโจรในเครื่องแบบโดยสมบูรณ์ ความเป็นไปของประเทศไทยในทุกๆเรื่องล้วนกำหนดโดย “กลุ่มบุคคลเพียงหยิบมือเดียว” คณะนี้พวกเขาได้ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาทเพื่อปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนเข้าควบคุมกลไกรัฐทุกกระทรวงทบวงกรม รวมรัฐวิสาหกิจ แล้วเข้าบริหารงบประมาณประจำปีอีก 1.5 ล้านล้านบาทโดยใช้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์บริหารประเทศด้วยวลีสั้นๆเพียงวลีเดียวนั่นคือ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปรากฎการณ์เหล่านี้จะเรียกขานเป็นอื่นไม่ได้ นอกจาก “การพังทลายของ นิติรัฐ” นั่นเอง.

(ลองเปรียบเทียบกับการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองซึ่ง รัฐใช้งบ 2,000 ล้านเพื่อบริหารการเลือกตั้ง นักการเมืองต้องลงแรงตระเวณหาเสียง ยกมือไหว้ขอคะแนนเสียงจากประชาชน ใช้เงินส่วนตัว เขตเลือกตั้งละไม่เกิน 1 ล้านบาท งบหาเสียงพรรคเฉลี่ยพรรคละ 100 ล้านบาท ประมาณการทั้งสิ้น 6,500 ล้านบาทเป็นส่วนของรัฐ 2,000 ล้าน ส่วนขอฝ่ายการเมืองทุกพรรครวมกัน 4,500 ล้านแต่ คปค.ไม่ใช้เงินส่วนตัวแม้สลึงเดียวเข้าสู่อำนาจรัฐจัดเงินเดือนให้ตัวเองและพรรคพวก ส่งพรรคพวกคุมรัฐวิสาหกิจตักตวงผลประโยชน์เข้ากระเป๋าและจัดงบประมาณประจำปี อีก 1.5 ล้านล้านบาทจัดเองใช้เอง อนุมัติเอง โดยไร้การตรวจสอบถ่วงดุลย์จากทุกภาคส่วนของสังคม)


1. วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย

1.1. สาเหตุแห่งวิกฤติ

1.1.1. โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้ การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์ อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ

1.1.2. กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL (เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล

1.1.3. กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม ไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์จากรัฐได้ตามต้องการก็หันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยที่ตนเคยสังกัดหรือให้การสนับสนุน(เช่นกลุ่มวังน้ำเย็น และกลุ่มทุนพรรคชาติไทย)

1.1.4. การมีเสียงข้างมากของ ทรท.และสามารถผลักดันนโยบายที่สัญญาไว้จนประสบความสำเร็จและเป็นที่พอใจของประชาชนจำนวนมาก ทำให้เกิดภาพความเข้มแข็ง ความมีเสถียรภาพ และการควบคุมอำนาจรัฐที่มั่นคง โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตก แก่กลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่กลัวว่า นายกทักษิณจะอยู่ในอำนาจยาวนานจนยากแก่การเอาชนะได้

1.1.5. อำนาจกลุ่มจารีตนิยมที่ได้รับประโยชน์จากการเมืองที่อ่อนแอดำรงอยู่อย่างยาวนานสูญเสียอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง การวางคนในรัฐวิสาหกิจ สูญเสียความได้เปรียบจากการประมูลและสัมปทานจากรัฐซึ่งหมายถึงสูญเสียการควบคุมสังคมและทิศทางของรัฐเนื่องจากมีรัฐบาลเสียงข้างมากมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งอีกทั้งมีผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงจนเกินไป

1.1.6. นักวิชาการที่เคยมีบทบาทชี้นำทางความคิดและกำหนดทิศทางสังคมไทย ค่อยๆสูญเสียฐานะนำหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 เนื่องจากไม่สามารถเสนอทิศทางและนโยบายสาธารณะที่สามารถแก้วิกฤติได้ และเริ่มมีความหมายน้อยลงภายใต้การบริหารประเทศของนายกฯทักษิณ

1.1.7. อำนาจกลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่ ฝ่ายค้านและเสียงส่วนน้อยที่รวมตัวเป็นพันธมิตรมาตราเจ็ดประเมิณกำลังฝ่ายตนเป็นรอง ทั้งวิสัยทัศน์ การบริหาร ผลงานและความได้เปรียบด้านทรัพยากรอื่นๆจึงหมดหวังจากการต่อสู้ตามระบบและกติกาที่มีอยู่และมองไม่เห็นความได้เปรียบและชัยชนะจากการต่อสู้ในระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสชนะจากการเลือกตั้ง จึงไม่อาจรอคอยให้ให้นายกทักษิณบริหารงานให้ครบตามวาระ

1.1.8. กลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์จากการมีรัฐบาลและพรรคการเมืองเข้มแข็งทั้งทางตรงและทางอ้อมเคลื่อนไปบรรจบกัน อย่างมีการจัดการ ภายใต้สถานการณ์ที่นายกฯและ ทรท.ประเมินความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายตนสูงเกินไป อีกทั้งไม่สามารถขจัดข้อโต้แย้ง ข้อโจมตีได้อย่างทันกาล (การสั่งสมข้อมูลและความรู้สึกด้านลบต่อรัฐบาลมายาวนาน ในประเด็น เอื้อประโยชน์พวกพ้อง มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แทรกแซงองค์กรอิสระ แทรกแทรงสื่อ ทุจริตคอร์รับชั่น เมื่อมีกรณี CTX คอยกัดกร่อนความเชื่อมั่น ศรัทธา และกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นจุดแตกหักจึงเกิดจุดผลิกผันของสถานการณ์ในที่สุด)

1.2. ลักษณะของวิกฤติ

1.2.1. กลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่ ฝ่ายค้านและสื่อมวลชนสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลเสียงข้างมากโดยแอบอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และมุ่งสร้างสถานการณ์และประเด็นต่างๆเพื่อให้รัฐบาลเผชิญหน้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยไม่มีมูลความจริง

1.2.2. เสียงส่วนน้อยใช้แต่สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ แต่บิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญกระทั่งละเมิดกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสังคม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นอนาธิปไตย และเรียกแนวทางของตนเป็น “Disobedience(อารยะขัดขืน)”

1.2.3. ในกระแสสูงแห่งการต่อต้าน กลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ทั้งนี้เพื่อควบคุมสถานการณ์มิให้บานปลาย จนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

1.2.4. เสียงส่วนน้อยปฎิเสธสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตยนั่นคือ “การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง” และปฎิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย โดยการเสนอทางออกด้วยมาตรา 7 และขอนายกฯพระราชทาน ยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการที่แอบอิงพระราชอำนาจ

1.2.5. มาตรการคว่ำบาตรการเลือกตั้งไม่ว่าจะมุ่งหวังสิ่งใด แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือระบบสังคมสั่นคลอน รวนเร อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเป็นง่อยไป 2 ใน 3 (นิติบัญญัติและบริหาร เหลือแต่ตุลาการ) ในระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้การบริหารประเทศหยุดชะงัก และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ สังคมโดยรวม

1.2.6. อำนาจตุลาการที่เข้ามาทำหน้าที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ได้ใช้อำนาจและกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีข้อกังขา และมีความเคลื่อนไหวที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันตุลาการกับอำนาจนอกระบบที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของที่มาและระบบคานอำนาจของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และได้พิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วหลังการ ยึดอำนาจ 19 กันยา ในกรณีการปูนบำเน็จ ความชอบให้นายจรัล ภักดีธนกุล เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ชาญชัย ประธานศาลฎีกา มาเป็น รมต. กระทรวงยุติธรรม สิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ ว่าหลักการแห่งความเป็นอิสระของศาล ไร้อำนาจใดแทรกแซงอำนาจตุลาการนั้น ล้วนโกหกทั้งสิ้น

1.2.7. กระบวนการแก้ไขปัญหาและคลี่คลายสถานการณ์ของสถาบันตุลาการได้เกิดคำถาม เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยว่า มีที่มาอย่างไร, มีกระบวนการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นอิสระไร้การแทรกแทรงหรือไม่, มีระบบการคานอำนาจกันอย่างเหมาะสม เช่นอารยะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามสาธารณะที่ถูกยกระดับขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 นับเป็นคำถามใหม่ ที่สะท้อนความก้าวหน้า อีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยไทย

1.3. ลักษณะพิเศษของวิกฤตการณ์

1.3.1. วิกฤตการณ์อำนาจอธิปไตยครั้งนี้ มีการอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างอึกทึกครึกโครมเป็นพิเศษ แม้ผู้นำการชุมนุมอย่าง สนธิ ลิ้มองกุลจะพูดจาจาบจ้วงจนปรากฎหลักฐานชัดเจนแต่กระบวนการยุติธรรมกลับเพิกเฉย แม้แต่การรัฐประหารก็ยังใช้เหตุผล 1 ใน 4 ข้อเกี่ยวกับการจาบจ้วงสถาบัน กระทั่งชื่อของคณะรัฐประหารก็ยังต้องต่อท้ายด้วยถ้อยคำ “อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

1.3.2. กลุ่มบุคคลที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการที่รวมกลุ่มเป็นพันธมิตรมาตราเจ็ด ได้เปลือยตัวตนและจิตวิญญาณที่กระหายอำนาจ วาสนา และเข้าสู่กลไกอำนาจรัฐโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากมติมหาชน เพราะเขาสามารถเข้าสู่อำนาจโดยรับใช้ถวายตัวต่ออำนาจพิศดาร ภายใต้การสนับสนุนค้ำจุนของกองโจรติดอาวุธที่กระทำการย่ำยีต่ออำนาจอธิปไตยของประชาชน คนเหล่านี้มีที่ทำงานใหม่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ องค์กรอิสระ กระทรวงทบวงกรมสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ และแทรกตัวตามคณะกรรมการชุดต่างๆที่ คมช.แต่งตั้งขึ้น

1.3.3. สื่อมวลชน ซึ่งแต่เดิมเป็นสื่อกลางที่ดำเนินงานภายใต้จรรยาบรรณของสื่อ แต่กลับกลายเป็น กลุ่มพลัง(Pressure Group) ที่มีวาระซ่อนเร้น ซึ่งนำเสนอข่าวสารเพื่อเป้าหมายของตน มากกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริง และอิงหลักการที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน ตรงกันข้าม สื่อมวลชนไม่เพียงแต่ปิดบังข่าวสาร เลือกเฟ้นการเสนอข่าวตามคำชี้แนะเท่านั้น แต่บังอาจที่จะบิดเบือน แต่งเรื่องโดยไม่มีมูลความจริง นำเสนอต่อสาธารณชนอย่างไร้ยางอาย ถือได้ว่าสื่อมวลชนทั้งหลายได้ล้มละลายทางความน่าเชื่อถือไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ หลังการรัฐประหารสื่อเหล่านั้นต่างได้รับการปูนบำเหน็จ ทั้งให้ตำแหน่งแก่บุคคลากรที่เอาการเอางาน และเปลี่ยนผังรายการเฉือนเวลาวิทยุ-โทรทัศน์มอบให้สื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งตอบแทน

1.3.4. นักวิชาการ อีลีตของสังคม จำนวนหนึ่งลงแรงสร้างตรรกะ ประดิษฐ์ถ้อยคำ เสนอวาทะกรรมเพื่อแก้ต่าง สร้างความชอบธรรมให้แก่คณะรัฐประหาร โดยละทิ้ง หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยไปเสียสิ้น ราวกับว่าประชาชนไทยไม่เคยรู้มาก่อนว่า หลักาการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคืออะไร

1.3.5. ความตื่นตัวต่อการต้านรัฐประหาร ยืนยันหลักการประชาธิปไตย รายแรกๆ กลับกลายเป็นคนหาเช้ากินค่ำอย่างลุง “นวมทอง ไพรวัลย์” ใช้รถแท็กซี่พุ่งชนรถถัง และผูกคอตาย ตั้งใจส่ง Message ต่อเพื่อนร่วมชาติ ผ่านบทกลอน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อคอกลมสีดำที่หุ้มร่างกายโดยปราศจากดวงวิญญาณ อีกทั้งเตรียมการบันทึกเสียงคำอำลา และสั่งเสียให้เผยแพร่ในวันสุดท้ายของงานศพ นับเป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ที่สะเทือนความรู้สึกในวงกว้าง และจะต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไปอีกนานแสนนาน

2. “นิติรัฐ” พังทลาย อำนาจตุลาการสั่งได้



2.1. อาการพังทลายของ “นิติรัฐ” คือลักษณะดังต่อไปนี้

2.1.1. ใช้กองกำลังอาวุธปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ยกเลิกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นวิถีอนารยะ ป่าเถื่อน ไม่ต่างจากการปล้นชิง มิใช่วิถีอารยะที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ

2.1.2. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งร่างโดยคณะเนติบริกรตามคำสั่งของผู้ยึดอำนาจ ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ร่วมของประชาชนทั้งประเทศ

2.1.3. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ จัดตั้งรัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ ซึ่งก็คือการเข้าควบคุมองคาพยพของรัฐที่สามารถกำหนดความเป็นตายไร้ดีของประชาชนทั้งประเทศ โดยคณะบุคคลที่ใช้อำนาจอาวุธเพียงไม่กี่คน

2.1.4. การออกประกาศ คำสั่งของผู้ยึดอำนาจโดยที่ประกาศคำสั่งนั้นเทียบเท่ากฎหมาย ทั้งที่กระบวนการออกกฎหมายของ “นิติรัฐ” ต้องมาจาฝ่ายนิติบัญญัติที่ประชาชนทั้งประเทศเลือกตั้งขึ้น นั่นคือความต้องการของคณะผู้ยึดอำนาจ คือกฎหมาย นั่นเอง

2.1.5. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ สั่งการและแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ตำรวจไปถึงศาล นับเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ และความน่าไว้วางใจของกระบวนการยุติธรรม กระทั่งทำให้ศาลไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ตามหลักการพื้นฐานของ “นิติรัฐ” เมื่อความเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม พังทลายลง ก็จะเกิดความโกลาหลในสังคม เช่นเดียวกับความโกลาหลที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้

2.1.6. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถตั้งองค์กร แต่งตั้ง ถอดถอน บุคคลให้ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ตามความประสงค์ของตน เช่น คตส. ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆทีกระบวนการตามปกติของ “นิติรัฐ” มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและหลายขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความเป็นอิสระ ความโปร่งใส และความสุจริต

3. สามเดือนสุดท้ายของปี 2549 พิสูจน์ชัด: อำนาจอธิปไตยในอุ้งมือของ คมช. นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาประชาชนและไม่สามารถรักษาความมั่งคั่งของประเทศไทยได้ดั่งเดิมแล้ว ยังผลักไสให้ประเทศไทยถอยหลังนับสิบๆปี และมีวิกฤติ นา นา ประการ รอคอยอยู่เบื้องหน้า



3.1. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 5 ปีเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและสร้างความน่าเชื่อถือให้ประเทศไทยยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก แต่รัฐบาล คมช. ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำลายความน่าเชื่อถือและศักดิ์ศรีของประเทศไทยไปเสียสิ้น ต่างชาติรุมกันประนามอย่างกว้างขวาง ความภาคภูมิใจของคนไทยถูกทำลายอย่างย่อยยับ

3.2. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 3 ปีเพื่อเตรียมงานเฉลิมฉลองศิริราชสมบัติครอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญ กษัตริย์จากทั่วโลกเข้าร่วมและเป็นข่าวใหญ่ไปก้องโลก แต่ คมช.ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำให้ทั่วโลกเข้าใจว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นข่าวพาดหัว สื่อมวลชนยักษ์ใหญ่ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก

3.3. ผลการดำเนินงานใน 3 เดือนสุดท้ายของปี 2549 มีอยู่ 3 อย่าง หนึ่ง ใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาผิดต่อ นายกทักษิณและครอบครัวให้ได้ตลอดจนรื้อนโยบายและผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยการคัดลอก ตัดแปะ และเปลี่ยนชื่อโดยหวังให้ผู้คนลืมรัฐบาลที่แล้วโดยเร็ว พร้อมๆกับกีดกันการกลับเข้ามาของ อดีตนายกทักษิณ ทุกวิถีทาง สอง วางกำลังคนของฝ่ายตนเข้าควบคุมกลไกรัฐ ทั้งที่มีอยู่เดิมและตั้งขึ้นมาใหม่ ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งงบประมาณและแหล่งผลประโยชน์ทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์กรหน่วยงานต่างๆ สาม สร้างองค์กรใหม่และขยายองค์กรเดิมเพื่อดูดงบประมาณให้อยู่ในการกำกับดูแลของตน เช่นหน่วยงานใหม่ ของคมช.เพื่อขอใช้งบกว่า 500 ล้านบาท และการเพิ่มอัตรากำลังพล 70,000 อัตราใน กอ.รมน. เป็นต้น ตลอดทั้ง 3 เดือนประชาชนคอยสดับตรับฟังว่า พวกเขาจะนำพาประเทศไปทิศทางไหน ด้วยยุทธศาสตร์ใด แต่ไร้วี่แวว

3.4. เพียง 3 เดือนที่ครองอำนาจ คณะรัฐมนตรีผู้เชี่ยวชาญงานรูทีนทั้งหลาย นอกจากไม่ได้สร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว กลับสร้างเรื่องเลวร้ายขึ้นมากมาย

3.4.1. ใช้เงินภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาทเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูของประชาชนทิ้ง คุกคามและริดรอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชนด้วยประกาศคำสั่งตามใจชอบ แต่งตั้งพรรคพวก กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน เข้าเป็นคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ สภาที่ปรึกษา เข้าควบคุมรัฐวิสาหกิจ และแทรกแทรงในกรรมการชุดต่างๆที่พวกเขาตั้งขึ้น

3.4.2. ความเป็นนิติรัฐที่สังคมไทยพัฒนาขึ้นด้วยสติปัญญา และแลกมาด้วยเลือดเนื้อ ชีวิตของวีรชนเดือนพฤษภาคม 2535 ต้องพังทลายลง จากการเข้ามายึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้

3.4.3. ใช้เงินภาษีประชาชนจัดตั้งองค์กร คุกคาม และเตรียมการปราบปรามประชาชน โดยเป็นหน่วยงานพิเศษของ คมช. 550 ล้านบาท และเพิ่มกำลังพลใน กอ.รมน.อีก 70,000 ตำแหน่ง เพื่อควบคุมประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทั้งๆที่ประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่าพวกตนยึดอำนาจโดยที่ประชาชนให้การยอมรับทั่วประเทศ

3.4.4. เชิดชูความมีจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำสูงส่ง ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีคือเป็นผู้บุกรุกป่าสงวนที่เขายายเที่ยง และ ประธาน คมช.จดทะเบียนสมรสซ้อน

3.4.5. แก้ปัญหาค่าเงินบาทแต่ทำลายตลาดทุน ทำให้ขนาดตลาดเสียหาย 800,000 ล้านภายในวันเดียวทำให้หุ้นลง 108 จุด ต่างประเทศเทขายไม่หยุด พวกเขาจัดการให้ดัชนีเป็นบวกโดยบังคับให้กองทุนฯ อุ้มซื้อ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและส่งผลกระทบต่อตลาดทุนในระยะยาว

3.4.6. สรรหาบุคคลเป็นสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่มีที่มาที่ไป ดำเนินการเลือกสมัชชา ไปเป็น สสร. โดยมีกลิ่นไอของการใช้เงิน เพื่อบล็อคโหวตให้ได้คนตามโผของพวกตน นอกจากไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้แล้ว ยังถูกรุมประนามไปทั่ว

3.4.7. สร้างภาพ วาดหวังให้ผู้คนเชื่อว่า ศอ.บต. มีประสิทธิภาพและมียุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภาคใต้ได้ แต่ปํญหาภาคใต้ ได้ขยายตัวจากเรื่องภายในประเทศกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ และยกระดับจาก เรื่องก่อการวินาศกรรมเป็นเรื่องแยกดินแดนแล้ว ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน

4. ปี 2550: คมช.รัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรทีไม่อิสระ และฝ่ายตุลาการใต้เงาปืน จะผ่านด่านทดสอบได้หรือไม่

ตั้งแต่นี้ต่อไป คมช.จะต้องผ่านด่านทดสอบที่สำคัญดังต่อไปนี้….

4.1. ด่านทดสอบ หนึ่ง จริยธรรม คุณธรรม และความพอเพียง ผู้นำ คมช.ทั้งตัวประธาน คมช. นายกรัฐมนตรี และบุคคลในคณะ ซึ่งสร้างภาพให้ประชาชนเข้าใจและรู้สึกว่าตนเป็นผู้นำที่เพรียบพร้อมด้วย คุณธรรมและจริยธรรมอันสูงส่ง กระทั่งเป็นแบบอย่างอันดีงานของผู้ประพฤติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะเป็นจริงเช่นนั้นต่อไปหรือไม่ กรณีการบุกรุกป่าสงวนเขายายเที่ยงของนายกรัฐมนตรี และกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนของ ประธาน คมช.นั้น เป็นเพียงการเผชิญความจริงหน้าด่านทดสอบแรกเท่านั้น

4.2. ด่านทดสอบ สอง ปัญหาภาคใต้แก้ได้หรือขยายตัว การแก้ปัญหาภาคใต้รัฐบาลขิงแก่ ยังแก้ไม่ถูกจุด ล้มเหลวด้านการข่าว เข้าไม่ถึงรังของผู้ก่อการ อ่านยุทธศาสตร์ของผู้ก่อการไม่ออก จัดทำยุทธศาสตร์ผิดพลาด พ่ายแพ้พวกแยกดินแดนในหลายๆยุทธการ แถมยังวางตัวบุคลากรและแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประชาชนไม่ถูกต้อง ทำให้ปัญหาการก่อวินาศกรรม จากจุดเล็กๆเป็นเงื่อนไขให้พวกแยกดินแดนใช้ประโยชน์ไปขยายการก่อการร้ายได้กว้างขึ้น และยกระดับปัญหาให้เป็นการแยกดินแดนและเป็นเรื่องที่เชื่อมกับต่างประเทศ ยิ่งมีสำนักข่าว อัลซาจีร่ามาตั้งอยู่ในมาเลเซีย จะทำให้การเสนอข่าวสารต่อโลกมุสลิมมีความแหลมคมยิ่งขึ้น เมื่อนายกสุรยุทธ์ไปให้สัมภาษณ์สำนักข่าวดังกล่าวโดยที่ไม่เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากกว่าความเข้าใจที่ดีขึ้นจะทำให้เหตุการณ์บานปลายยิ่งขึ้น

4.3. ด่านทดสอบ สาม กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจริงหรือ การออกมาให้ข่าวตั้งข้อหา กล่าวโทษ อดีตนายกทักษิณ ครอบครัว และนักการเมืองคนอื่นๆ ของ คตส. นั้น ถือเป็นพฤติกรรมของผู้ทำงานในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ครองธรรม หรือไม่ ในเมื่อ คตส.เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน ที่ยังไม่มีการชี้แจงจากผู้ถูกล่าวหา และศาลยังมิได้พิพากษา ไม่เพียงเท่านี้เมื่อเรื่องราวทั้งปวงถูกส่งฟ้องศาลแล้ว อำนาจตุลาการ โดยศาล จะสามารถรักษาความเป็นอิสระไว้ได้หรือไม่ และ ศาลจะสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจจริงหรือไม่

4.4. ด่านทดสอบ สี่ พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองเดินตามธงของผู้มีอำนาจหรือไม่ ปี 2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งโดย คมช. และมีคนใกล้ชิดของ พลเอกเปรม รวมอยู่ในนั้นหลายคน จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชน เชื่อมั่นได้ว่า ดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส ไร้อคติ และที่สำคัญไม่ใช่มีมติพิพากษาไปตามธงของ คมช. หรือ ผู้อยู่เบื้องหลัง คมช.

4.5. ด่านทดสอบ ห้า สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมทางการเมือง ของประชาชน จะถูกตั้งข้อหาเป็นพวกคลื่นใต้น้ำป่วนเมืองและเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่ คมช. กอ.รมน. สันติบาล จะต้องพิสูจน์ว่า การรขอใช้งบ 500 ล้านเพื่อสร้างหน่วยงานใหม่ ให้คมช. และเพิ่อัตรากำลังพล 70,000 นายในกอ.รมน. นั้นเป็นการทำงานเพื่อความมั่นคงของรัฐที่เกิดจากการรุกรานของอริราชศตรูจากต่างประเทศ หรือ การก่อการร้าย มิใช่มีไว้เพื่อ ปราบปราม กดหัว ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านพวกตน และจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่ใช้งบประมาณก้อนนี้ “สถาปนารัฐทหาร” เพื่อสืบทอดอำนาจของ คมช.และคณะ ไม่ว่า คมช.จะเป็นผู้ออกมาเล่นเองหรือ ส่งตัวแทนออกมาเล่นตามบทที่ตนกำหนด

4.6. ด่านทดสอบ หก ร่างรัฐธรรมนูญโดยตั้งธงและหมกเม็ดหรือไม่ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเกิดขึ้นจาก สสร.ที่คัดเลือกแต่งตั้งโดย คมช.นั้น แท้ที่จริงคือปาหี่ และละครโรงใหญ่ ซึ่งเป็น “มุก”ทางการเมืองที่ใช้มาแล้วเมื่อปี 2517 การนำมุกนี้กลับมาใช้อีกในปี 2549 โดยที่โลกเคลื่อนที่ไปในกาแลกซี่ ถึง 32 ปีแล้วนั้น นับเป็นอาการย้ำคิด ย้ำทำ ทางการเมืองไร้เหตุผล แต่เมื่อมันได้เกิดขึ้นแล้ว สสร. จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องดีกว่า หรือดีไม่น้อยกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ที่พวก คมช.ฉีกทำลายไป

4.7. ด่านทดสอบ เจ็ด เศรษฐกิจไทยปี 2550 ปลอดภัยหรือสุ่มเสี่ยง

4.7.1. ประชานไม่กล้าจับจ่าย ใช้สอย เพราะความไม่มั่นใจต่ออนาคต อีกทั้งคล้อยตามคำโฆษณาให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง จะทำให้ยอดขายสินค้าตก รัฐเก็บภาษี VAT ได้น้อยลง ผู้ประกอบการยอดขายตก กำไนหด ก็จ่ายภาษีนิติบุคคลได้น้อยลง สินค้าเหล้า บุหรี่ถูกควบคุมอย่างหนักทำให้เก็บภาษีสรรพษามิตรได้น้อยลง จะทำให้รายได้ของรัฐมีแนวโน้มลดลงอย่ามาก จนก่อปัญหาด้านการคลังในปีงบประมาณปี 2551

4.7.2. ประเทศอเมริกาและสหภาพยุโรปชลอการเจราทางการค้ากับไทยและมีแนวโน้มกีดกันการนำเข้าสินค้าจากไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำให้โอกาสส่งออกในตลาดใหญ่ๆของไทยหดแคบลง ทำให้เงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศน้อยลง

4.7.3. ค่าเงินบาทยังจะแข็งค่า เนื่องจาก เศรษฐกิจขาลงของอเมริกา ขีดความสามารถ ในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทของ ธปท.มีความจำกัด ยังจะมีผลต่อการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก และจะทำให้ภาคการส่งออกประสบกับความเสี่ยง

4.7.4. ผู้ประกอบการในภาค Real Sector ชลอการลงทุนเพิ่ม กิจการส่งออกถึงขั้นลดกำลังการผลิต และหยุดผลิต ในขณะที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศยืดเวลาการลงทุนออกไป จะทำให้ภาวะการลงทุนในภาค Real Sector หดตัวลง

4.7.5. เมื่อหมดงานพืชสวนโลกกระแสนักท่องเที่ยวจะลดลง และรัฐยังไม่มีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหารายได้จากเงินตราต่างประเทศจากนักท่องเที่ยว จะทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง

4.8. ด่านทดสอบ แปด แรงงานเพิ่งจบเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1,000,000 ตำแหน่ง ในขณะที่แรงงานปัจจุบัน มีความเสี่ยงจากการถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการลดกำลังผลิต และ หยุดการผลิต อีกทั้งไม่มีการขยายกิจการเพิ่ม เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ปัญหาคนว่างงานกลายเป็นปัญหาใหญ่และเป็นภาระของสังคมมากกว่าเป็นพลังสร้างสังคม

4.9. ด่านทดสอบ เก้า สินค้าเกษตรตกต่ำ ประชาชนในภาคการเกษตรจะถูกทอดทิ้ง ขาดการเหลียวแล สินค้าด้านการเกษตร ที่สำคัญ เช่นข้าว ยางพารา และพืชผลอื่นๆ ราคาตกลงอย่างน่าเป็นห่วง ด้านหนึ่งเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ที่ส่งผลต่อผู้ส่งออก แต่อีกด้านหนึ่งมาจาก ความสามารถด้านการบริหารของผู้นำรัฐบาลและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ จะทำให้เกษตรกรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน และเดินทางเข้าสู่ กรุงเทพเพื่อหารายได้เพิ่ม ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะคาดการณ์ได้

4.10. ด่านทดสอบ สิบ ปํญหาสังคม ตามมาเป็นพรวน จากปัญหาต่างๆที่กล่าวมา สังคมไทยจะกลายสภาพเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความชั่วร้าย นา นา ประการ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด การลัก ขโมย การปล้น จี้ชิงทรัพย์ การฉ้อฉลธุรกรรมทางธุรกิจ การปล่อยเงินกู้นอกระบบ การทวงหนี้นอกกฎหมาย มือปืนรับจ้าง และการฆาตกรรม ทั้งจากการจ้างวานและจากภาวะความเครียดทางจิตใจ ปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อ ระบบนิติรัฐพังทลาย และภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา ประชาชนมองไม่เห็นอนาคตของประเทศและของตนเอง

และผู้ทีจะบอกว่า พวกท่านทั้งหลายผ่านด่านทดสอบหรือไม่
คือประชาชนทั้งประเทศ
หาใช่ “อำนาจพิศดาร” ใดๆ ไม่

ไม่มีความคิดเห็น: